Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/222
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเถื่อนช้าง, วรกฤต-
dc.date.accessioned2022-03-14T14:47:13Z-
dc.date.available2022-03-14T14:47:13Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/222-
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตาม นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ๒) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยด้านสื่อสร้างสรรค์ที่มี ความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ๓) เพื่อเสนอ รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนด้วยขบวนการสื่อสร้างสรรค์ เชิงพุทธ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพภาคสนาม ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสานในการออกแบบการวิจัย ระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ประชากร ๓,๑๖๖, คน และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจานวน ๓๕๕ คนเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ขั้นตอนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและกลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญ ๑๕ คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑.ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนรู้เพิ่ม ความรู้ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์สื่อทางพระพุทธศาสนาภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x = 4.07, SD = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดคือความซื่อสัตย์ในระดับสูง (x = 4.14, SD = 0.60) ตามด้วยการเสียสละค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (x = 4.10, SD = 0.59) ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยต่าสุดคือ ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับสูง (x = 4.03, S.D. = 0.60) ผลการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ พบว่า การจาแนกการ เรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจาแนกระดับความสามารถจากต่าสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจาก ความรู้ ความเข้าใจ การนาไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินและการสร้างสรรค์ ด้าน จิตพิสัย จาแนกเป็น การรับรู้การตอบสนองการสร้างค่านิยมการจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะ จากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จาแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายทักษะการเคลื่อนไหว อวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมกันทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทางและทักษะการแสดงพฤติกรรม ทางการพูดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ข ๒.องค์ประกอบและปัจจัยด้านสื่อสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณธรรมและ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน พบว่า ๑.องค์ประกอบทางปัญญา ประกอบด้วยขั้นความรู้ ขั้นความจา ขั้นความเข้าใจ ขั้นนาไปใช้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นประเมินค่า ๒. องค์ประกอบทางอารมณ์ ประกอบด้วย ขั้นรับรู้ ขั้นตอบสนอง ขั้นเห็นคุณค่า ขั้นจัดระบบ ขั้นกิจนิสัย และ ๓. องค์ประกอบ ทางพฤติกรรม ประกอบด้วยภายใน เช่น ความรู้ ความคิด สติปัญญา และภายนอก เช่นการอบรมบ่ม นิสัยสภาพแวดล้อมทางครอบครัว สภาพแวดล้อมทางสังคม สื่อสร้างสรรค์ เช่น อินเตอร์เน็ต เว็บไซค์ อีบุ๊คและอีเมล์ เป็นต้น และสามารถตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งใน การวิจัยครั้งนี้ พัฒนาต้นแบบสื่อใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ๓.รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้ หมายถึง แนวทางการนาสื่อ สร้างสรรค์เชิงพุทธมาพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเยาวชนให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเหมาะสมกับวัยในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ประกอบด้วย ๑) รูปแบบด้านความมีระเบียบวินัย ๒) รูปแบบด้านความรับผิดชอบ ๓) รูปแบบด้านความซื่อสัตย์สุจริต ๔) รูปแบบด้านความเสียสละ ๕) รูปแบบด้านความอดทน อดกลั้น และ๖) รูปแบบด้านใฝ่เรียนรู้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้en_US
dc.subjectเด็กและเยาวชนen_US
dc.subjectขบวนการสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธen_US
dc.titleการพัฒนาคุณธรรมและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ด้วยขบวนการสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธen_US
dc.title.alternativeA learning behavior and moral development of children and youth with Buddhist creative media processen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.