Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/221
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิสิฏฺฐปญฺโญ, พระมหาพิสิฐ-
dc.contributor.authorแสงใส, ประยูร-
dc.contributor.authorวิชุมา, นิติกร-
dc.contributor.authorประศรี, ศิโรรัตน์-
dc.contributor.authorดีสวนโคก, ชอบ-
dc.contributor.authorธนะแพทย์, จุฬาพรรณภรณ์-
dc.date.accessioned2022-03-14T14:45:27Z-
dc.date.available2022-03-14T14:45:27Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/221-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา ๒) ศึกษาประวัติและพัฒนาการสถาปัตยกรรมสิมอีสาน ๓) วิเคราะห์แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมสิมอีสาน ได้กาหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๔๐ รูป/คน โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) พระสังฆาธิการที่ดูแลสิมอีสาน ๒) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสิมอีสาน ๓) ผู้ได้รับอิทธิพลจากสิมอีสาน นาเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่า แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนารูปเป็นวัดวาอารามของชาวอีสานนั้นกลมกลืนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแวดล้อม โดดเด่นดังศาสนสถานที่ให้สร้างให้เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นที่สถิตของเทพเจ้าอันเป็นสัญลักษณ์ แห่งพระราชาผู้ทรงไว้ซึ่งอานาจ สถาปัตยกรรมสิมอีสาน ที่เหลืออยู่ถึงทุกวันนี้ล้วนได้รับการปฎิสังขรณ์มาแล้วทั้งสิ้น การให้ความสาคัญตามสัญลักษณ์ของจักรวาลคติ ตามการรับรู้ในเชิงสัญลักษณ์ของชาวอีสานในอดีต ส่วนที่มีลักษณะร่วมคือ การวางตาแหน่งสิมอีสาน เป็นศูนย์กลางของวัดโดยเปรียบเสมือนดังเขาพระสุเมรุ เป็นต้น ประวัติและพัฒนาการสถาปัตยกรรมสิมอีสาน มีพัฒนาการ ๓ ยุค ได้แก่ ยุคที่ ๑ สิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์แบบดั้งเดิม คือ สถาปัตยกรรมสิมอีสาน ตั้งแต่ในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ต่างรับอิทธิพลศิลปะและวัฒนธรรมงานช่างล้านช้าง ยุคที่ ๒ สถาปัตยกรรมสิมอีสาน สิมพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพื้นบ้าน ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มช่างญวนได้เข้ามามีบทบาทสาคัญและเด่นชัดมากขึ้นและโดยเฉพาะศาสนาคาร และยุคที่ ๓ สิมอีสานประยุกต์หรือสิมพื้นบ้านผสมเมืองหลวง งานช่างในยุคนี้มีความหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยการศึกษาจากภาพถ่าย หนังสือ ตารา หรือบ้างก็เดินทางไปศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศตามแหล่งศิลปะสถาปัตยกรรมวัดต่างๆ ที่มีความประทับใจ ตามเงื่อนไขตัวแปรสาคัญคือรสนิยมของทั้งตัวนายช่าง สมภาร คณะกรรมการวัด และเจ้าศรัทธา แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมสิมอีสานวิเคราะห์จากองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ส่วนบนของสิม มีช่อฟ้าที่มีรูปคล้ายปราสาทเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง ข ความเคารพบูชาและเสมือนฉัตรที่คอยกั้นแดดและฝนพระพุทธรูปและสิม ส่วนหน้าบันของสิม นิยมสร้างเป็นตะวันทอแสงเปรียบได้กับปัญญาที่เกิดขึ้นกลางใจของผู้แสวงหาโมกขธรรม ๒) ส่วนกลางของสิม มีประตูทางเข้าทางเดียว เปรียบได้กับมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางสายเอกซึ่งจะนาผู้ปฏิบัติไปสู่การพ้นทุกข์ และ ๓) ส่วนฐานของสิม คือ ส่วนของเอวขันเปรียบได้กับไตรสิกขา หลักธรรมที่พัฒนาชีวิตให้ดารงบนความถูกต้องและดีงามen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectแนวคิดen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมen_US
dc.subjectสิมอีสานen_US
dc.titleแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสถาปัตยกรรมของสิมอีสานen_US
dc.title.alternativeBuddhist concept towards Architecture of Sim Isanen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-060พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ, ดร..pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.