Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/220
Title: เครือข่ายการเรียนรู้ : กระบวนการสร้างและการใช้ความรู้จากวรรณกรรม เรื่องสินไซ สู่การพัฒนาสังคมของชาวจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Learning network : The Process of Creating and Using Knowledge of Literature Titled ‘Synshai’ to Social Development of People in Khon Kaen Province
Authors: บารุงภักดิ์, โสวิทย์
ไกรราช, ทักษิณาร์
Keywords: เครือข่ายการเรียนรู้
กระบวนการสร้างและการใช้ความรู้จากวรรณกรรมเรื่องสินไซ
การพัฒนาสังคมของชาวจังหวัดขอนแก่น
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของวรรณกรรมสินไซในบริบทสังคมอีสานและจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาวรรณกรรมสินไซในการเปิดพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ของชาวจังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ในกระบวนการสร้างและใช้ความรู้จากวรรณกรรมสินไซสู่การพัฒนาสังคมของชาวจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยคุณภาพ พื้นที่วิจัยได้แก่วัดไชยศรีและวัดสนวนวารีพัฒนาราม เป็นวัดที่มีสิมที่เขียนฮูปแต้มบอกเล่าเรื่องสินไซ บ้านสาวะถีและบ้านหัวหนอง โรงเรียนวัดบ้านไชยศรีและโรงเรียนบ้านหัวหนองนาวัวโนนงิ้ว จังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ ๕ กิจกรรม ได้แก่ การทอดเทียนพรรษา การวาดฮูปแต้มสินไซ การเป่าแคนสินไซ การแสดงละครเวทีสินไซ และการเป็นมัคคุเทศก์น้อย เป็นกระบวนการสร้างและการใช้ความรู้จากวรรณกรรมสินไซผ่านกิจกรรมทั้ง ๕ กิจกรรมสู่การพัฒนาชุมชน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนาเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมสินไซเป็นวรรณกรรมที่มานอกปัญญาสชาดก แต่งเป็นร้อยกรองด้วยโคลงวิชชุมาลี โดยท้าวปางคาผู้มาปกครองเมืองหนองบัวลุ่มภู จังหวัดหนองบัวลาภูในปัจจุบัน และจัดเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่มีการแพร่หลายมากในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งได้ปรากฏร่องรอยแห่งอิทธิพลของสินไซ เช่น หมอลาทานองสินไซ หนังตะลุงสินไซ ท่าฟ้อนราสินไซ ฯลฯ หากกล่าวเฉพาะจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยมีอยู่ ๒ แห่งคือวัดไชยศรี อาเภอเมือง และวัดสนวนวารีพัฒนาราม อาเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น วัดทั้ง ๒ แห่งมีสิมที่บอกเล่าเรื่องสินไซเป็นฮูปแต้มตลอดทั้งหลัง และที่โรงเรียนบ้านสาวะถีและโรงเรียนบ้านหัวหนองนาวัวโนนงิ้ว มีหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ แห่งที่นาชื่อเมืองและตัวละครในเรื่องสินไปตั้งชื่อถนนและห้องประชุม คือเทศบาลตาบลสาวะถีตั้งชื่อถนนคือถนนสีโห ถนนเป็งจาล เป็นต้น และเทศบาลนครขอนแก่นตั้งชื่อห้องประชุม คือ ห้องประชุมสินไซ ห้องประชุมอโนราธ เป็นต้น กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการใช้ความรู้จากวรรณกรรมสินไซสู่การพัฒนาบ้านและโรงเรียน เริ่มต้นที่คณะผู้วิจัยนาหนังสือสินไซซึ่งเป็นฉบับใบลานที่เชื่อว่าเป็นฉบับของเมืองขอนแก่น ไปถวายเจ้าอาวาสและได้ให้ความรู้วรรณกรรมสินไซแก่อุบาสกอุบาสิกาผู้รักษาศีล ๘ โดยแบ่งกลุ่มเล่าสินไซ และทากิจกรรมทางพุทธศาสนาด้วยการร้องสรภัญญ์สินไซ ส่วนกระบวนการสร้างและการใช้ความรู้เรื่องสินไซสู่นักเรียนนั้น เริ่มต้นที่คณะผู้วิจัยได้เชิญชวนนักเรียนของโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งเพื่อรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ๔ กิจกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสินไซแก่นักเรียนในโรงเรียน และทากิจกรรมต่างๆ ไปตามขั้นตอนที่กาหนด ผลที่ปรากฏคือคณะอุบาสกอุบาสิการ้องสรภัญญ์ทานองสินไซได้ นักเรียนของโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งได้สิ่งที่เป็นรูปธรรมคือได้ภาพตัวละคร สัตว์ ป่าไม้ ฯลฯ มีคณะหมอแคนสินไซ มีคณะละครเวทีสินไซ มีคณะมัคคุเทศก์น้อยช่วยบอกเล่าสินไซ และได้สิ่งที่เป็นนามธรรมคือนักเรียนมีความกตัญญู มีความกล้าหาญ มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความซื่อสัตย์ และมีความอดทน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/220
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-017 รศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์.pdf9.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.