Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/219
Title: พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Other Titles: Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Authors: พระราชปริยัติกวี
Keywords: พจนานุกรม
พระไตรปิฎกภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: เรื่อง “พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เป็นโครงการวิจัยปีที่ ๒ ต่อเนื่อง โดยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๔ ประการ คือเพื่อจัดทำพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ได้มาตรฐาน สมบูรณ์ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ถูกต้องตามคัมภีร์ในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายถูกต้อง สามารถนำไปได้ถูกที่ ถูกความหมาย อำนวยประโยชน์แก่การเรียนการสอนการวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการสำหรับใช้เป็นคู่มือศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป เพื่อบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นการบำรุงส่งเสริมสรรพวิชาให้เป็นคุณประโยชน์แก่ชาติและประชาชน วัตถุประสงค์เหล่านี้สำเร็จตามเป้าหมายได้ โดยอาศัยหลักการจัดทำพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ๑. ค้นคำศัพท์ คือศัพท์ที่ได้ค้นหามาจาก ๒ ส่วน คือ ศัพท์ที่เป็นดรรชนีจากพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐ ทั้ง ๔๕ เล่ม และศัพท์ที่คัดเลือกเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยพิจารณาเลือกมาจากหนังสือพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ๒. เรียงคำศัพท์คือการนำเสนอศัพท์พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย จะเรียงศัพท์ตามลำดับหมวดอักษร คือ หมวดอักษร วรรค ก วรรค จ วรรค ฏ วรรค ต วรรค ป และหมวดอักษรอวรรค คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ (สระทั้งหมด) คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๓. คัดเลือกคำศัพท์ คือคำพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย มีรูปแบบกระบวนการรวบรวมคัดเลือกศัพท์ที่เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อพระสูตร ชื่อชาดก วัตถุ วิมาน คาถา นิทเทส รวมถึงอปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก ๔. เขียนนิยามคำศัพท์ ได้ใช้เกณฑ์ ให้มีคำตั้งให้นิยามความหมาย และอธิบายเชื่อมโยง และอ้างอิงที่มา ใช้สำนวนภาษาที่กระทัดรัดและศัพท์ที่เข้าใจได้ยากให้วงเล็บคำภาษาบาลีไว้ คำศัพท์ที่ให้ความหมายอยู่ระดับเดียวกัน อาจจะแปลตามตัวหรือแปลโดยอรรถ หรือแปลโดยพยัญชนะ หรือแปลอธิบายความ ๕. อักษรย่อและเครื่องหมายที่ใช้ในพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยได้ใช้อักษรย่อคัมภีร์และเครื่องหมายมหาวิทยาลัยระบุไว้ ประกอบด้วยคำย่อชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์ปกรณ์วิเสส อรรถกถา คัมภีร์ฎีกา อนุฎีกา และไวยากรณ์ ผลการวิจัย ในโครงการวิจัยปีที่ ๔ มีดังนี้ ๑.พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ได้ค้นคว้ารวบรวมศัพท์ คัดเลือกศัพท์จากพระไตรปิฎกทั้งในวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก โดยเปิดแต่ละหน้าและค้นหาศัพท์ที่เห็นสมควรและทำบัญชีศัพท์ไว้ และการเขียนนิยามศัพท์ ในหมวดอักษรอวรรค คือ ย ร (ฤ) ล ว (ศ) (ษ) ส ห ฬ อัง(อํ) (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ดังรายละเอียดดังนี้ อักษร ย (๑๗๗ ศัพท์) อักษร ร (๗๐๔ ศัพท์) อักษร (ฤ) (๓๔ ศัพท์ จำนวน ๗๓๘ ศัพท์ อักษร ล (๒๑๖ ศัพท์) อักษร ว (๑,๐๑๙ ศัพท์) อักษร (ศ) (๑๒๕ ศัพท์) อักษร (ษ) (ไม่มีศัพท์) อักษร ส (๒,๗๙๙ ศัพท์) จำนวน ๒,๙๙๔ ศัพท์ อักษร ห (๒๗๗ ศัพท์)อักษร ห (ไม่มีศัพท์) อักษร อัง(อํ) (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) จำนวน ๓,๒๑๑ ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์ทั้งสิ้น ๘,๕๕๒ ศัพท์ ศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อสูตร วิมาน วัตถุ คาถา ชื่อชาดก นิทเทส อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก และคำศัพท์ที่ปรากฏในพระสูตรมีปรากฏจำนวนมาก ในพระวินัยจำนวนปานกลาง และพระอภิธรรมซึ่งเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และปัจจัย ๒๔ มีจำนวนน้อย และศัพท์ที่ความหมายเดียว มีเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่มีหลายความหมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ลดหลั่นลงตามลำดับ ๒. วิธีการใช้พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีศัพท์ที่เกื้อกูลให้คึกษาค้นคว้าคำสอนทางพระศาสนาได้รอบด้าน เพราะมีคำศัพท์มากมาย เฉพาะหมวดอักษรอวรรค มีจำนวนศัพท์ถึง ๘,๕๕๒ ศัพท์ คงอำนวยให้เกิดความเกื้อกูลต่องานวิชาการ มุ่งหมายให้ผู้ที่จะศึกษาเรียนรู้คำสอนทางพระพุทธศาสนา มีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาทั้งเป็นศัพท์ธรรมะ คำศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ศัพท์ที่เป็นอสาธารณนาม ที่เป็นชื่อบุคคล สถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ชื่อชาดก ศัพท์ชื่อพระสูตร รวมถึง วิมาน วัตถุ คาถา นิทเทส อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก คณะผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มศัพท์เป็น ๓ กลุ่ม คือ (๑) ศัพท์ที่มีความหมายเดียว (๒) ศัพท์ที่มี ๒ความหมาย (๓) ศัพท์ที่มี ๓ ความหมายขึ้นไป แต่ละกลุ่มจะมีหัวข้อย่อย ๖ หัวข้อ คือ (๑) ศัพท์ที่เป็นชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ (๒) ศัพท์ที่เป็นชื่อสิ่งของเครื่องใช้ (๓) ศัพท์ธรรมะ (๔) ศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ (๕) ศัพท์เป็นชื่อชาดก (๖) ศัพท์ที่เป็นชื่อพระสูตร รวมถึง วิมาน คาถา อปทาน และจริยา ทั้ง ๖ หัวข้อนี้เป็นแนวทางที่เป็นตัวอย่างสำหรับใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกที่ถูกความหมาย สื่อความหมายได้ถูกต้อง อันจะช่วยแก้ปัญหาในการศึกษาค้นคว้าคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ระดับหนึ่ง เพราะศัพท์ในบทนิยามมีลักษณะเด่น ๓ อย่าง คือ (๑) ความหมาย (๒) อธิบายความหมาย ยกตัวอย่างประกอบ (๓) อ้างอิงในบทนิยามมีการเชื่อมโยงศัพท์นั้นศัพท์นี้ อธิบายความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทำดรรชนีคำศัพท์พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ตั้งแต่หมวดอักษรอวรรค คือ ย ร (ฤ) ล ว (ศ) (ษ) ส ห ฬ อัง(อํ) (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ตามลำดับไว้ในภาคผนวกอีกด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/219
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-157 พระราชปริยัติกวี.pdf17.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.