Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/217
Title: | การศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก |
Other Titles: | An Analytical Study of the KammaResult of Bhuddha as in the suttanta pitaka |
Authors: | กลฺยาณจิตฺโต, พระมหาวิจิตร |
Keywords: | การศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรม พระพุทธเจ้า คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมของพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิบากกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมของพระพุทธเจ้าในส่วนที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก เพื่อเปรียบเทียบวิบากกรรมแต่ละชาติของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ผลจากการวิจัยพบว่า การกระทำกรรมของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆนั้นมีผลทำให้ได้รับวิบากกรรมต่างๆกัน บางชาติก็ตกนรก บางชาติก็ตกอบายในชาติที่ตกอบาย ๔ ชาติ ในชาติที่ตกนรก ๕ ชาติ ในชาติปัจจุบันหลังจากได้ตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้ายังได้เสวยวิบากต่างๆอีก เช่น การทำทุกรกิริยา ๖ ปี ๑ การถูกกล่าวโทษ ๑ การถูกด่าว่า ๑ การถูกกล่าวหา ๑ การถูกศิลากระทบ ๑ การเสวยเวทนาจากสะเก็ดหิน ๑ การถูกปล่อยช้างนาฬาคิรี ๑ การถูกผ่าตัดด้วยศาสตรา ๑ การปวดศีรษะ ๑ การกินข้าวแดง ๑ ความเจ็บปวดสาหัสที่กลางหลัง ๑ การลงโลหิต ๑ การกระหายน้ำ ๑ เหล่านี้เป็นเหตุฝ่ายอกุศล จะเห็นได้ว่าแม้พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้แล้วยังไม่สามารถข้ามพ้นกรรมไปได้ ยังต้องเสวยวิบากกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตอีก เมื่อวิเคราะห์วิบากกรรมที่พระพุทธเจ้าได้กระทำในครั้งเป็นพระโพธิสัตว์นั้น วิเคราะห์ตามกรรม ๑๒ จัดเข้าในกรรม ๑๒ ว่าโดยการ เป็นอปราปริยเวทนียกรรม ว่าโดยกิจ เป็นอุปัตถัมภกกรรม ฝ่ายอกุศล ว่าโดยลำดับ เป็นพหุลกรรม ซึ่งบัดนี้พระพุทธเจ้าเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นิพพานแล้ว |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/217 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2552-038 พระมหาวิจิตร กลฺยาณจิตฺโต.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.