Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/215
Title: พฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติ ของพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๖
Other Titles: The four dimensions behavior of the monks' health under the ecclesiastical ministry of the sixth region
Authors: สว่างวงศ์, เกศรา
Keywords: พฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติ
พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๖
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติของพระสงฆ์ที่ศึกษาใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๕ แห่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ (๒) ศึกษาแนว ปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม (๓) เพื่อพัฒนา ความรู้แก่พระสงฆ์ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อสร้างพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพ (อสส.) หรือพระคิลานุปัฏฐาก (พระ อสว.) โดยการใช้กระบวนการวิ จั ยเชิ งปริมาณ (Quantitative Research) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต แพร่ วิทยาเขตพะเยา วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย และวิทยาลัยสงฆ์นครลาปาง จานวนแห่งละ ๕๐ รูป รวม ๒๕๐ รูป โดยการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Study) เพื่อค้นหา ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติ แนวคิดทฤษฎีการปฏิบัติ ตนในการดูแลสุขภาพ แนวคิดและความสาคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ และการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวม เป็นการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติของพระสงฆ์ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือเพื่อทราบถึงพฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติ และแนวการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของ พระสงฆ์ ตลอดถึงการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านการดูแลสุขภาพแก่พระอาสาสมัครส่งเสริม สุขภาพ (พระ อสส.) เพื่อเป็นพระคิลานุปัฏฐาก (พระ อสว.) ในการเสริมสร้างความรู้ด้านการดูแล สุขภาพ สามารถดูแลตนเองและให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้อื่นทั้งในสถาบันการศึกษา และชุมชนได้ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพ ๔ มิติ ของพระสงฆ์ที่ศึกษาใน มจร. ๕ แห่ง ในเขต ปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ มีพฤติกรรมด้านร่างกาย อยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง พฤติกรรมด้านจิตใจ พฤติกรรมด้านสังคม และพฤติกรรมด้านปัญญา อยู่ในระดับปฏิบัติมาก แนวปฏิบัติตนในการดูแล สุขภาพของพระสงฆ์ที่ศึกษาใน มจร. ๕ แห่งในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง ทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ด้านร่างกาย ได้แก่ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและที่นอน มีระดับ ปฏิบัติมาก รองลงมา ได้แก่ ออกกาลังกายทุกวัน เลือกฉันผักปลอดสารพิษ ตรวจสุขภาพประจาปี ฉันอาหารปรุงสุกและครบ ๕ หมู่ ดื่มน้าสะอาดหลังตื่นนอนทุกเช้า และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ตามลาดับ ด้านจิตใจ ได้แก่ การมีสติรู้ตัวเสมอ อยู่ได้ระดับปฏิบัติมาก รองลงมา ได้แก่ การคิดบวก/ ปล่อยวาง ด้านสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตัวตามคาแนะนาของแพทย์ การตรวจสุขภาพตามแพทย์นัด ข อยู่ในระดับปฏิบัติมาก ด้านปัญญา ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักคาสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด เช่น การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม อยู่ในระดับปฏิบัติมาก พระสงฆ์ที่ศึกษาใน มจร. ๕ แห่ง ในเขต ปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ มีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ต้องรักษาโดยแพทย์เป็นประจา ได้แก่ โรคความ ดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคความดันโลหิตต่า ไข้หวัด โรคปอดบวม โรคเบาหวาน และอาการปวด กล้ามเนื้อ พระสงฆ์ที่ศึกษาใน มจร. ๕ แห่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ มีวิธีการดูแลสุขภาพ ตนเองและให้ความช่วยเหลือหรือแนะนาการดูแลสุขภาพให้ผู้อื่น ได้แก่ ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างตามหลักพระธรรมวินัย แนะนาการดื่มน้าสะอาดหลังตื่นนอนทุกวัน แนะนา การควบคุมอาหาร แนะนาวิธีป้องกันโรค นาข้อมูลจากแพทย์ในชุมชนมาแนะนาชาวบ้าน แนะนาการ ออกกาลังกาย แนะนาการกินสมุนไพรที่มีประโยชน์ การสมัครเป็นพระ อสว. การให้กาลังใจพบปะ พูดคุยไปเยี่ยมที่บ้าน แนะนาการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและแนะนาการพักผ่อนให้ เพียงพอ พระสงฆ์ที่ศึกษาใน มจร. ๕ แห่งในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๖ สมัครเป็นพระอาสาสมัคร ส่งเสริมสุขภาพ (พระ อสส.) และสมัครเป็นพระคิลานุปัฏฐาก (พระ อสว.) ยินดีเข้ารับการอบรม หลักสูตรระยะสั้น จานวน ๙๕ รูป และไม่ยินดี จานวน ๑๕๕ รูป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/215
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.