Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/214
Title: | การสืบค้นและจัดระบบการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและการถ่ายทอด ภูมิปัญญาภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น |
Other Titles: | The Ascertainment and Reservational System the Ancient Scriptures Kept in Monateries and Publicizing the East and the upper South Wisdom to up rise a Local Learning Source. |
Authors: | ศรีอร่าม, ภูริทัต ยอดบุญ, พรภิรมย์ |
Keywords: | การสืบค้นและจัดระบบการอนุรักษ์ เอกสารคัมภีร์โบราณของวัด การถ่ายทอดภูมิปัญญาภาคตะวันออกภาคใต้ตอนบน สร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารวบรวมและจัดหมวดหมู่เอกสารคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาของวัดในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน, เพื่อพัฒนาระบบการสืบค้นและดรรชนีค้นคำของเอกสารคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาของวัดในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน, เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของวัดในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Study) และการวิจัยภาคสนาม (Field Study) ผลการวิจัยพบว่า ๑) การสำรวจเอกสารคัมภีร์โบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน สมุดไทยและจารึกของวัดและแหล่งโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนมากเป็นคัมภีร์ใบลานและสมุดไทยอักษรไทยที่เป็นอักษรขอมมีอยู่น้อย ได้รายชื่อหัวเรื่องประเภทคัมภีร์ใบลานอักษรขอม จำนวน ๓๔๒ ผูก ประเภทสมุดไทย จำนวน ๗๗ เล่ม ประเภทจารึก จำนวน ๓๒ หลัก แต่ละประเภทมีอายุประมาณ ๗๐ ปีขึ้นไป แบ่งตามเขตพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรามี ๘๘ ผูก ๒๓ เล่ม จังหวัดชลบุรีมี ๒๓ ผูก ๗ เล่ม ๘ หลัก จังหวัดปราจีนบุรีมี ๗๖ ผูก ๒๖ เล่ม จังหวัดสระแก้วมี ๑๔ หลัก จังหวัดระยองมี ๔๕ ผูก ๒๑ เล่ม จังหวัดสุราษฎร์ธานีมี ๑๑๐ ผูก ๙ หลัก จังหวัดเพชรบุรีมี ๑ หลัก เอกสารที่เป็นคัมภีร์ใบลานกับสมุดไทยมีสภาพชำรุดเป็นส่วนมากและต้องใช้วิธีการให้คำแนะนำแก่ผู้ครอบครองดูแลรักษาให้ถูกวิธี ๒) การรวบรวมเอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อการจัดทำเป็นระบบสืบค้นข้อมูลและส่งเสริมการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ได้แนวคิดจากการอนุรักษ์และเก็บคัมภีร์จากวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย การกำหนดอักษรย่อและเครื่องหมาย การเรียงลำดับพยัญชนะและสระในดัชนีค้นเรื่อง และกำหนดรหัสหมวดเอกสาร ๓) การส่งเสริมการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ควรวางแผนทำงานเป็นทีมตามความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย ผู้ชำนาญด้านอักษรโบราณ ผู้จัดระบบองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และดูแลรักษา ผู้จัดทำฐานข้อมูลและเผยแผ่เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะ ผู้นำชุมชนมีนโยบายในการอนุรักษ์เอกสารโบราณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นต้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/214 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-078 นายภูริทัต ศรีอร่าม (1).pdf | 13.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.