Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/212
Title: การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The Development of Capacity Network for Learning in Sufficient Economy in Phitsanulok
Authors: บุญทองคำ, ณัฏยาณี
ขวัญรัก, พระราชรัตนสุธี
Keywords: การพัฒนา
เครือข่าย
นย์การเรียนรู้
และเศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด พิษณุโลก” โดยกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาบริบทของเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง จังหวัดพิษณุโลก และ ๒) เพื่อนาเสนอการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการ สนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จานวน ๒๙ ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เกี่ยวข้อง จานวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. บริบทของเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า การจัด ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพื่อให้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ ร่วมกันภายในชุมชนทั้งในระดับหมู่บ้าน ตาบลและมีจุดการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้านหลากหลายสาขา องค์ความรู้ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดการความรู้เชิงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชน และสามารถ ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนในชุมชนได้มีแหล่งที่ทากิน ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย จากพืชผักที่ปลูกเองภายในชุมชน ๒. การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันทั้งในศูนย์การเรียนรู้และนอกศูนย์การเรียนรู้ จะเป็นการรวมตัวกัน เป็นเครือข่าย สู่การนาพลังหรือศักยภาพของสมาชิกมารวมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถที่จะดาเนิน กิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบเกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างระบบ จัดเก็บความรู้ทางด้านอาชีพ และการนาองค์ความรู้ที่ดีมาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การมีผู้นาศูนย์ ที่ดีสามารถบริหารจัดการศูนย์อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดศูนย์ที่เข้มแข็ง เกิดนวัตกรรมใหม่ หรือ พัฒนาให้ดีกว่าเดิม สามารถพึ่งพาตนเองได้
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/212
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-167ณัฏยาณี บุญทองคำ.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.