Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา-
dc.contributor.authorพระครูปิยกิจบัณฑิต-
dc.contributor.authorสระทองให้, เสถียร-
dc.date.accessioned2022-03-14T14:23:32Z-
dc.date.available2022-03-14T14:23:32Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/211-
dc.description.abstractผลการวิจัย พบว่า นโยบาย หลักการ และกระบวนการจัดการพื้นที่มรดกโลกฯ ได้แก่ การส่งเสริม การจัดตั้งองค์กรอนุรักษ์ท้องถิ่น การปรับปรุงสภาพอาคารบ้านเรือนในพื้นที่อุทยาน การศึกษาและจัดทาผัง เมืองเฉพาะ การอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม การสารวจและโยกย้ายอาคาร บ้านเรือนที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาจุด จอดรถ ร้านค้าและบริการ บริเวณศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว การจัดหาพื้นที่สาหรับจัดการขยะตามหลัก วิชาการ การฝึกอบรมเพื่อจัดจ้างประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมปฏิบัติงานสารวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะ โบราณสถาน การฝึกอบรมแก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การบริหาร จัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์และการพัฒนาจุดบริการบริเวณศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว พบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการพื้นที่มรดกโลกฯ พบว่า ทุกโครงการบรรลุ จุดมุ่งหมายในระดับดี แต่บางโครงการไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง และขาดกระบวนการในการ ทางานที่ชัดเจน อีกทั้งยังขาดการประสานงานที่ต่อเนื่อง และไม่มีการจัดจ้างประชาชนในการปฏิบัติงานสารวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถาน แต่มีการว่าจ้างเข้ามาดูแลและรักษาความสะอาด ทุกหน่วยงานมีความ พร้อมในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ ตลอดจนมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน อื่น แต่การดาเนินงานยังขาดการประสานงานที่จะส่งเสริมความร่วมมือของแต่ละภาคี ตลอดจนขาดการ ประสานขอความร่วมมือยังหน่วยงานต่างๆ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการจัดการพื้นที่มรดก โลกฯ พบว่า ปัจจัยด้านผลประโยชน์ส่วนบุคคล ความตระหนัก ความศรัทธา ความเสียสละลักษณะผู้นาภาคี ความเข้มแข็งและการส่งเสริมความร่วมมือ นโยบายของภาคีภาพรวมในระดับมาก แนวทางการพัฒนาการจัดการพื้นที่มรดกโลกฯ พบว่าควรมีการตั้งจุดมุ่งหมายของโครงการให้มีความ เป็นจริงที่จะทาให้บรรลุได้ มีการกาหนดทิศทางอย่างชัดเจน มีการระบุข้อมูลติดต่อของผู้ประสานงาน วาง แผนการดาเนินการปฏิบัติได้จริง ระบุขั้นตอนที่มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเปลี่ยนในสถานการณ์จริงได้ มี การจัดประชุมระหว่างภาคีอย่างต่อเนื่อง ติดตามก้าวหน้าของและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีมีความ เข้มแข็ง เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคคลภายนอกได้รับทราบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกันโดยมีกรมศิลปากรมีบทบาทหลัก ศึกษาผลกระทบหรือประโยชน์ที่เกิดขึ้น ประเมิน ปรับปรุงระหว่างที่มีการดาเนินการโครงการ ตลอดจนเพื่อใช้ในการปรับปรุงการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีใน โครงการต่อไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิเคราะห์en_US
dc.subjectการจัดการพื้นที่มรดกโลกen_US
dc.subjectพหุภาคีen_US
dc.titleวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบพหุภาคีen_US
dc.title.alternativeAnalyticalstudy to Factors Relating to Multilateral World Heritage Site Management.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-311 พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.