Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/209
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วชิราวุโธ, สุพัตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-14T14:19:13Z | - |
dc.date.available | 2022-03-14T14:19:13Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/209 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัย เรื่อง “ธมฺมปทมหาฎีกา: การแปลและศึกษาวิเคราะห์” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ ๑) เพื่อศึกษาคัมภีร์ ธมฺมปทมหาฏีกา ในด้านประวัติผู้แต่ง สมัยที่แต่ง โครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ ๒) เพื่อแปลคัมภีร์ ธมฺมปทมหาฏีกา จากต้นฉบับภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ๓) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากคัมภีร์ ธมฺมปทมหาฏีกา รวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์ ธมฺมปทมหาฎีกา เป็นหลัก วิเคราะห์ สังเคราะห์ตามหลักอุปนัยวิธี และนาเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า คัมภีร์ ธมฺมปทมหาฎีกา แต่งโดย พระวรสัมโพธิญาณ แห่งวัดมหาราม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของหมู่บ้าน เยสะใจ ใกล้แม่น้าสัลลาวดี ห่างจากจังหวัดปขุกกู่ ราว ๔ กิโลเมตร คัมภีร์นี้แต่งตอนที่ ท่านมีอายุได้ ๕๓ ปี ๓๔ พรรษา สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.๒๓๓๕ – ๒๔๐๐ เนื้อหาคัมภีร์ ธมฺ มปทมหาฎีกาแบ่งเป็น ๒๖ วรรค ตามเนื้อหาคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท โดยท่านจัดเรื่องที่มีลักษณะ ธรรมะตามแต่ละหมวด แต่ไม่ได้อธิบายทุกเรื่องเหมือนคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เลือกอธิบายเป็นบาง เรื่อง รวมทั้งสิ้น ๑๙๒ เรื่อง เนื้อหาคัมภีร์ ธมฺมปทมหาฎีกาเป็นการประพันธ์แบบร้อยแก้วผสมร้อย กรอง (วิมิสสะ) การแต่งจัดเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑) การอธิบายความหมายของศัพท์ ๒) การแสดง องค์ประกอบของศัพท์ (ธาตุ วิภัตติ ปัจจัย) ๓) การอธิบายหลักธรรม, การอธิบายศัพท์ เช่น ทาน ใน อนุปุพพิกถา, พระศาสดา ในความหมาย ๙ ลักษณะ เป็นต้น การแสดงธาตุ วิภัตติ ปัจจัย ที่เป็น องค์ประกอบของศัพท์ เช่น พฺราหฺมณ สาเร็จมาจาก ทฺวิ บทหน้า, หร ธาตุ ในความทรงไว้, แปลง ทฺวิ เป็น พา, ลง ร อาคม, แปลง ร เป็น ณ, ลง ม อาคม ส่วนการอธิบายหลักธรรมมุ่งให้เข้าใจหลักธรรม ง่ายขึ้น เช่น ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย เหมือนพระตถาคตเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เหมือนจันทร์แดงเป็นยอดแห่งต้นไม้ที่มีกลิ่นเป็นแก่นสาร เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ สูงสุดแห่งพระราชาทั้งหลาย เหมือนแสงจันทร์เป็นยอดแห่งแสงดาวทั้งหลาย เหมือนพระอาทิตย์ส่ง แสงในสรทกาล หรือเวลาปราศจากเมฆหมอก เหมือนผ้าแคว้นกาสีเป็นยอดแห่งผ้าทั้งหลาย และ เหมือนต้นไม้ประจาทวีปเป็นยอดแห่งต้นไม้ในทวีปนั้นๆ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ธมฺมปทมหาฎีกา | en_US |
dc.subject | การแปล | en_US |
dc.subject | ศึกษา | en_US |
dc.subject | วิเคราะห์ | en_US |
dc.title | ธมฺมปทมหาฏีกา: การแปลและศึกษาวิเคราะห์ | en_US |
dc.title.alternative | Dhammapadamâhâtikâ : The Translation and Analytical Study | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-116 พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.