Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/206
Title: การพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและ ท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Other Titles: The Potential development in English Skills for OTOP Group in Phitsanulok Province to Promote Tourism, and Prepare for AEC Readiness
Authors: ขวัญคง, จิรพจน์
อ่อนทรวง, จุมพต
วิศิษฏ์ใจงาม, อภิพัธน์
อาสนชัย, สุทัศน์
Keywords: ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน
ท้องถิ่น
จังหวัดพิษณุโลก
การท่องเที่ยว
ประชาคมอาเซียน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก และ 3) เพื่อวิเคราะห์ทักษะและความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในอาเภอบางระกา จังหวัดพิษณุโลก จานวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ 2) แบบสอบถามความต้องการในการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ 3) เอกสารประกอบการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ดาเนินการทดลองจานวน 30 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T - test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 34.75 2) การพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ดาเนินการ 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 การสารวจความต้องการในการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความต้องในการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นที่ 2 การพัฒนาเอกสารประกอบการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยเอกสารประกอบการอบรมมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นที่3 การจัดดาเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอน 3 ขั้น คือ ขั้นการนาเสนอเนื้อหา ขั้นการฝึกปฏิบัติ และขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และขั้นที่ 4 การประเมินการอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ 3) ทักษะและความสามารถของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเบื้องต้นหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/206
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-317นายจิรพจน์ ขวัญคง.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.