Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/204
Title: | การศึกษาผลของการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง |
Other Titles: | A Study of the Effect of Anapanassati Kammatthana on the Quality of Life in Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Patients |
Authors: | วารีแสงทิพย์, จุฑามาศ |
Keywords: | การปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐาน คุณภาพชีวิต สัญญาณชีพ ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทำงช่องท้อง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | จากการศึกษาพบคุณภาพชีวิตที่ต่่าลงของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบ่าบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องชนิดถาวร จึงได้แนะน่าการท่าอานาปานสติกัมมัฏฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ในขณะท่าการล้างไตทางช่องท้องเองที่บ้าน เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ ว่าใช้ได้ผลจริง จึงได้ท่าการศึกษานี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานที่มีต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้อง (๒) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานที่มีต่อสัญญาณชีพในผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง โดยศึกษาการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก และศึกษาแนวคิด เกี่ยวกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบ่าบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องชนิดถาวร จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ที่มาได้รับการการติดตามประเมินผลที่ หน่วยโรคไต โรงพยาบาลศิริราช ๔๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มควบคุม อย่างละ ๒๐ คน ไดมาโดยวิธีการสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มทดลองนี้ได้กลับไปปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานเองที่บ้านวันละครั้ง โดยมีแผ่น ดีวีดี และเอกสารแนะน่าวิธีการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานที่ผู้วิจัยท่าขึ้นเอง วิธีการคือประเมินภาวะความซึมเศร้า และคุณภาพชีวิต ก่อนและหลังการทดลอง ๓ เดือน ด้วยแบบประเมินสภาวะอารมณ์ และ SF-๓๖ (ฉบับภาษาไทย) และตรวจสอบสัญญาณชีพทุก ๑ เดือน ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของข้อมูล ใช้โปรแกรมส่าเร็จรูป SPSS ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการหาค่าสถิติ โดยใช้การค่านวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และค่านวณค่าความแตกต่างอย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติโดยใช้ t test ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ภาวะความซึมเศร้า และ คุณภาพชีวิตของกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการวิจัยไม่มีความแตกต่างกัน ภาวะความซึมเศร้าของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการวิจัยมีแนวโน้มลดลงได้ คุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการวิจัยดีขึ้นอย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติในมิติของสุขภาพทั่วไป (GH) (P value = ๐.๐๒) อัตราการเต้นของหัวใจของทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการวิจัยไม่มีความแตกต่างกัน อัตราการหายใจ กลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการวิจัยไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนอัตราการหายใจของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการวิจัย ลดลงอย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติ (P value < ๐.๐๑) จึงสรุปได้ว่า การปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสม และมีผลดีต่อต่อคุณภาพชีวิต และสัญญาณชีพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบ่าบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้อง เพราะสามารถเพิ่มทั้งคุณภาพชีวิต และลดอัตราการหายใจได้อย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติ องค์ความรู้ใหม่นี้เป็นการยืนยันผลการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้ นอกจากจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีผลดีต่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านอีกด้วย รัฐบาลจึงควรก่าหนดการปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐานให้เป็นนโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และยังท่าให้ผู้ป่วยเหล่านี้ มีโรคแทรกซ้อนน้อยลงอันเป็นผลให้การใช้ยารักษาที่น้อยลง จึงท่าให้เศรษฐกิจมวลรวมของประเทศและของโลกดีขึ้นตามมาอีกด้วย |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/204 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-212 ดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์ 1.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.