Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/195
Title: | การพัฒนาศักยภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Potential Development of Buddhist Tourist Attractions of Monasteries in Suphanburi Province |
Authors: | วุฑฺฒิวํโส, พระมหาวุฒิพงษ์ พระครูโสภณวีรานุวัตร แสงหล้า, ปัณณวิชย์ |
Keywords: | การพัฒนาศักยภาพ แหล่งท่องเที่ยว ทางพระพุทธศาสนา วัด สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาและอุปสรรคแหล่ง ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อศึกษาเส้นทางและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิง พระพุทธศาสนาของวัดและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี และ ๓) เพื่อนำเสนอการพัฒนา ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ อภิปรายกลุ่มร่วมกันระหว่างผู้เชียวชาญด้านประวัติศาสตร์ สุพรรณบุรี เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์จากผู้เชียวชาญจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชียวชาญมาเพื่อประมวลวิเคราะห์ตอบโจทย์หัวข้อวิจัยด้วยวิธีพรรณนาและเชิงปริมาณ ผลของการศึกษาวิจัยพบว่า เส้นทาง และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาใน จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลการศึกษาพบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอยู่ ในระดับปานกลาง โดยมีสิ่งดึงดูดใจ ได้แก่ วัด โบราณสถาน และทำเลที่ตั้งที่ดี มีถนนเข้าถึงสะดวก มี เส้นทางท่องเที่ยวหลักคือ เส้นทางจากอำเภอเมืองไปถึงอำเภออู่ทอง เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เชื่อมไป ยังจังหวัดอื่นได้ มีกิจกรรมหลักคือ กิจกรรมการไหว้และการทำบุญ โดยผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า จังหวัด สุพรรณบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ตั้งกระจายอยู่ห่างออกจากกันในหลายท้องที่ ซึ่งสภาพ การกระจายตัวดังกล่าวส่งผลต่อปัญหาอื่น เช่น ขาดรถรับส่งสาธารณะ ขาดความปลอดภัย ขาดที่พัก ในท้องที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเรื่องการขาดการประสานงานกับจังหวัดข้างเคียงและขาด กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่มีความหลากหลายและมีมิติในเชิงลึกที่ต้องอาศัย ความเข้าใจ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของพระพุทธศาสนา ข้อเสนอแนะมีว่า ควรมีการยกระดับศักยภาพและสิ่งดึงดูดใจ ด้วยการสืบค้นและ เผยแพร่ความสำคัญ โดยจัดทำผังแม่บทเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาร่วมกับจังหวัดอื่น เช่น พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม เพื่อยกระดับเส้นทางและกิจกรรมนำร่องให้ชัดเจน มีกิจกรรมค้นหา ข เรื่องราวที่น่าสนใจหรือน่าดึงดูดใจร่วมกันระหว่างภาคีตามเส้นทางนำร่องทั้งในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี- อำเภออู่ทอง และจัดประชุมระหว่างภาคีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ เช่น การเข้าถึง ความ ปลอดภัย โรงแรมที่พัก เป็นต้น ทั้งนี้การทำงานโดยอาศัยผังแม่บทด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ ครอบคลุมทั้งเรื่องเส้นทางและกิจกรรมจะช่วยจุดประกายการสร้างความร่วมมือและนำไปสู่การ ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างยั่งยืน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/195 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-268พระมหาวุฒิพงษ์ วุฑฺฒิวํโส, ดร.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.