Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฝางคำ, บรรยวัสถ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-14T09:04:08Z | - |
dc.date.available | 2022-03-14T09:04:08Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/194 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง ชุมชนไตรสิกขา : รูปแบบและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัด อุบลราชธานี 2. วิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 3. ประยุกต์ใช้หลัก ไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประชากร คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงในอาเภอ วารินชาราบ จังหวัด ทั้งหมด 9,632 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่อาศัยอยู่จริง ในอาเภอวารินชาราบ จานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวโดยการกาหนดขนาดขนาดจากสูตรของ Yamane กาหนดค่าความคลาดเคลื่อน ที่ระดับความเชื่อมั่น .95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีเนื้อหา 4 ส่วน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อคาถามที่มีความหมายเชิงปฎิฐานสอบถามประสบการณ์ ที่ผ่านมาให้สารวจตัวเอง 2) แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเป็นแนวคาถามการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับ พฤติกรรมการแสดงออกตามหลักไตรสิกขา ครอบคลุมเนื้อหา ศีล สมาธิ ปัญญา ผลการศึกษา พบว่า 1. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอาเภอวารินชาราบ จานวน 16 ตาบล มีระดับคุณภาพใน ภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมในระดับค่อนข้างดีทุกด้าน โดยมีด้านความสัมพันธ์กับสังคมมีค่าเฉลี่ยในระดับสูงสุด 2. องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตามข้อกาหนดขององค์การอนามัยโลก วัดได้จากองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้าน สิ่งแวดล้อม หมายถึงการประเมินค่าที่เป็น จิตนิสัยซึ่งฝังแน่นอยู่กับบริษัททางวัฒนธรรม สังคม และ สภาพแวดล้อม ชี้วัดคุณภาพชีวิตเป็นคุณภาพชีวิตและสุขภาพทั่วไป 3. การปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาสร้างคุณภาพให้กับชีวิตผู้สูงวัย จากการสนทนากลุ่ม ผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้อง สามารถสรุปประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ได้ว่า การปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่แสดงออกด้านศีล ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติให้ถูกต้องดีงามตามหลักของจุลศีล มัชฌิมศีล เป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้ข้อกาหนด กติกาของสังคมที่ยอมรับกฎกติกาด้วยความเต็มใจ มี ความพร้อมด้าน ความประพฤติ วินัย และความสัมพันธ์ทางสังคม มีพื้นฐาของการสร้างเสริมคุณภาพ กาย สุขภาพจิตได้ดี การปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่แสดงออกด้านสมาธิ มีสภาวะการ อบรมจิตให้สงบมั่นคง เป็นสมาธิ การปฏิบัติสื่อถึงขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมี สัมมาวายามะ และสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เจริญ งอกงามขึ้น ส่งผลถึงการมีความพร้อมทางคุณธรรม มีคุณภาพจิตที่เข้าแข็ง มีสมรรถภาพจิตและ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่แสดงออกด้านปัญญา จากการปฏิบัติสมาธิของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งผลถึงการเกิดปัญญาในการอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มใส ควบคุมอารมณ์ได้ มีการพิจารณา มีเหตุผลประกอบการตัดสินใจ เป็นที่ไว้ว่างใจและสามารถให้คาปรึกษาลูกหลานได้เป็นที่นับถือ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ชุมชนไตรสิกขา | en_US |
dc.subject | การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต | en_US |
dc.subject | สังคมผู้สูงอายุ | en_US |
dc.title | ชุมชนไตรสิกขา : รูปแบบและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี | en_US |
dc.title.alternative | Tri Sikkha Community: Form and Enhancement of Quality of Life in Elderly Society, Ubon Ratchathani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-088 บรรยวัสถ์ ฝางคา.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.