Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/193
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูปริยัติคุณรังษี-
dc.contributor.authorภาแก้ว, ส่งสุข-
dc.contributor.authorเกษสังข์, ภัทราพร-
dc.date.accessioned2022-03-14T09:01:40Z-
dc.date.available2022-03-14T09:01:40Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/193-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ๓) สร้างคู่มือการจัดการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเลย การเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ๓ กลุ่ม คือ (๑) ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน ๖ คน (๒) พระวิทยากรอบรมเรื่องจิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน ๓รูป (๓) ตัวแทนผู้สูงอายุเข้าร่วม จำนวน ๑๓ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่กำลังศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จำนวน ๔๐๐ คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสร้างคู่มือการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเลย ประกอบด้วย ๓ กลุ่ม คือ (๑) ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน ๖ คน (๒) พระสงฆ์ จำนวน ๓ รูป (๓) ตัวแทนผู้สูงอายุที่เข้าร่วม จำนวน ๑๐ คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสองอับดับ ผลการวิเคราะห์ เป็นดังนี้ ๑. ผลการพัฒนาตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็นองค์ประกอบ ๔ องค์ประกอบ คือ ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ภาวะที่เป็นสุขทางจิตใจ ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ และมีตัวชี้วัด ๓๐ ตัว ๒. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง ๔ องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก คือ มีค่าตั้งแต่ ๐.๓๑ – ๐.๘๒ อย่างมีนนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ทุกค่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางจิตใจ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ๙ ตัว รองลงมา รองลงมา องค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางสังคม ประกอบด้วย ตัวชี้วัด ๗ ตัว และองค์ประกอบด้านจิตวิญญาณ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ๘ ตัว และองค์ประกอบด้านภาวะที่เป็นสุขทางกาย ประกอบด้วยตัวชี้วัด ๖ ตัว และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 386.68, df = 350, p-Value = .09, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, CN = 426.90, RMSEA = 0.02, CN = 426.90)en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectตัวชี้วัดen_US
dc.subjectสุขภาวะen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.titleการพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.title.alternativeThe Development of indicator for Management of Elder Health Well-Being in the Northeasten_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-130 พระครูปริยัติคุณรังษี.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.