Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorตาปูลิง, จันทรัสม์-
dc.contributor.authorอิสฺสรภาณี, พระมหาอินทร์วงค์-
dc.contributor.authorพระครูไพศาลธรรมานุสิฐ-
dc.date.accessioned2022-03-14T08:53:00Z-
dc.date.available2022-03-14T08:53:00Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/188-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวคิดกระบวนการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลัก พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่า ตัวตาย ๒) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า การฆ่าตัวตาย (Suicide) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) การฆ่าตัวตายด้วยนึกถึงแต่ตนเอง (Egoistic suicide) ๒) การฆ่าตัวตายเพื่อเสียสละ (Altruistic suicide) และ ๓) การฆ่าตัวตายจากอารมณ์ชั่ววูบ (Anomic suicide) ในด้านจิตวิทยาถือว่าเป็นไป ตามสัญชาตญาณแห่งความตาย (death instinct) และความรู้สึกผิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งอื่น แนวคิดใน การป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ มีชีวิตอยู่และความคุ้มค่าทางด้าน ทรัพยากรบุคคล จาแนกออกเป็น ๓ ขั้นตอนคือ ขั้นตอน การประเมินกลุ่มเสี่ยง ขั้นตอนการช่วยเหลือ กลุ่มเสี่ยง และขั้นตอนการฟื้นฟูผู้พยายามฆ่าตัวตาย แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า พระพุทธศาสนาถือว่าการฆ่าบุคคลอื่นหรือการฆ่าตนเองนั้นเป็นบาป คือ สิ่งที่เศร้าหมอง ส่งผล ทาให้จิตขุ่นมัว เป็นมลทิน ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงการฆ่าตัวตายของภิกษุ เช่น พระฉันนะ พระ โคธิกะ และพระวักกลิ เป็นต้น ส่วนมากมีสาเหตุมาจากการต้องการพ้นทุกข์ที่เกิดจาก การเจ็บป่วย ทางด้านร่างกายและพ้นจากทุกข์ที่อยู่ในวัฏสงสาร แต่ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้นถือว่าการ ฆ่าตัวตาย เป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็น ว่ามนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง เพื่อการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง ด้วย เหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงส่งเสริมให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบแห่งการ ดาเนินชีวิตของมนุษย์ที่มี ๓ ด้าน คือ พฤติกรรม (ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญา เรียกว่าไตรสิกขา แนวทางป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า หลักอริยสัจ ๔ หลักไตรลักษณ์ และหลักอนุสติ ๑๐ สามารถกาหนดกรอบและทิศทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ฆ่าตัวตายได้ ส่วนแนวทางนั้นสามารถประยุกต์ใช้หลัก ปธาน ๔ มาเป็นโครงสร้าง การดาเนินงาน คือ ๑) สังวรปธาน การเฝ้าระวัง โดยอาศัยกัลยาณมิตร ๒) ปหานปธาน การยับยั้ง-ลด-ละ ๓) ภาวนา ปธาน การสร้างภาวะคุ้มกัน ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในชีวิต ได้แก่ การเห็น ๓ อย่าง และการรู้ ๓ อย่าง และ ๔) อนุรักขนาปธาน การรักษาภาวะคุ้มกันให้เป็นแนวทางมั่นคง ด้วยองค์ ธรรมที่เรียกว่า สติและสัมปชัญญะen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาen_US
dc.subjectกระบวนการป้องกันและแก้ไขen_US
dc.subjectการฆ่าตัวตายen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleการศึกษาแนวคิดกระบวนการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตามหลักพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeA Study of The Concept of Suicide Prevention and Correction in Buddhismen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-228นายจันทรัสม์ ตาปูลิง.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.