Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/187
Title: | กระบวนการสืบสานเครือข่ายทางสังคมของพระสงฆ์ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง |
Other Titles: | Process of Buddhist Monk Social Network Transformation for Community Empowerment |
Authors: | บริบูรณ์, บูรกรณ์ |
Keywords: | กระบวนการ เครือข่ายทางสังคม พระสงฆ์ ชุมชนเข้มแข็ง |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เล่มนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ๑) เพื่อศึกษาการดารงอยู่และการสืบทอดของ เครือข่ายทางสังคมของพระสงฆ์ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการสืบสานเครือข่ายทางสังคมของพระสงฆ์ใน การสร้างสังคมเข้มแข็งและ ๓) เพื่อสังเคราะห์การดารงยู่ การสืบทอดเครือข่ายทางสังคมของพระสงฆ์ กับสังคมภายนอกในการสร้างสังคมเข้มแข็ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ๑) พระสงฆ์แกนนาเครือข่าย ๔ รูปและพระสงฆ์ทั่วไป ๑๐ รูป สมาชิกในชุมชน ๓) ผู้นาชุมชน/เจ้าหน้าที่/ผู้ประสานงานชุมชน รวม ๒๐ คน และ ๔) สมาชิกคนในชุมชน ๒๐ คน เครื่องมือการศึกษาคือการพูดคุย ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายของพระสงฆ์ดารงอยู่กว่า ๓๐ ปี โดยมีพระสงฆ์สี่รูปเป็น แกนเครือข่ายในพื้นที่สองตาบลจากที่เคยมีสมาชิกเครือข่ายทั้งจังหวัดผ่านกิจกรรมการลงอุโบสถ สัญจร การดารงอยู่และการสืบสานอยู่อย่างเข้มแข็งต่อเนื่องมีความเชื่อมโยงของเครือข่ายแผลของ ความเชื่อมโยงตามลาดับ ดังนี้ ๑) ความสัมพันธ์ของแกนนาเครือข่ายกิจกรรม ๔ รูป บนพื้นฐานความ เป็นศิษย์ร่วมสานักและความเป็นอาจารย์-ลูกศิษย์มากกว่าความสัมพันธ์ในเชิงการปกครอง เครือข่าย พระสงฆ์ในสองตาบลร่วมกันลงอุโบสถสัญจรในพื้นที่ก่อให้เกิดเกิดการปรึกษาหารือกิจการของคณะ คณะสงฆ์ในด้านการปกครอง ด้านการศึกษาได้อย่างทั่วถึงรวดเร็วตามสถานการณ์และด้านสังคม สงเคราะห์และร่วมกิจกรรมใหม่ๆอันตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ ผลของกิจกรรมการลง อุโบสถทาให้พระสงฆ์เกิดความการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ถอดบทเรียนสถานการณ์พรพุทธศาสนา ในพื้นที่ ก่อให้เกิดสามัคคีพร้อมร่วมมือกันทากิจกรรมอื่นๆ ๒) การดารงอยู่ของกิจกรรมลงอุโบสถ เป็นกิจกรรมพุทธประเพณีรองรับ แกนอันเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายของพระสงฆ์กับชุมชนคือบุญกุศลและ ประเพณี การที่ชุมชนทั้งสองตาบลมีส่วนร่วมสังฆกรรมด้วยการทาบุญกับพระสงฆ์ทั้งสองตาบลใน คราวเดือนถือว่าเป็นโอกาสหาได้ยาก ก่อให้เกิดกิจกรรมการแสดงธรรม การพูดคุยของพระสงฆ์กับ ชาวบ้าน นอกจากธรรมะแล้วยังพูดคุยสถานการณ์ทางพระพุทธศาสนาและความเป็นอยู่ของคนใน ชุมชน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชุมชนทาให้เกิดความคุ้นเคยต่อยอดไปสู่การทากิจกรรมของ ชุมชนร่วมกันในสองตาบลกิจกรรมอื่นๆ ๓) สมาชิกต่างชุมชนในสองตาบลได้พบปะกันนามาสู่ความร่ม มือกันในการสร้างกิจกรรมวัฒนาธรรม ประเพณี รื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างโอกาสในการทามาหา กิน โดยเฉพาะยางพาราที่สองตาบลเป็นเป็นแหล่งปลูกมากที่สุดในจังหวัดและร่วมกันป้องกัน ต่อรอง และแก้ไขปัญหาอันเกิดขากมลภาวะโรงงานยางพารา กิจกรรมเครือข่ายทาให้กระบวนการเรียนรู้และ นาไปสู่ชุมชนเข้มแข็งในที่สุด |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/187 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-045 บูรกรณ์ บริบูรณ์.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.