Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/186
Title: การศึกษาเชิงสำรวจลักษณะและอิทธิพลความเชื่อประเพณีศิลปกรรม ปราสาทขอมในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: A Critical Survey of Types of Arts, Believes, and Culture on the Khom palaces in Ubonratchani Province
Authors: พุทธเกตุ, ทองแดง
พันนา, มนูญ
Keywords: ลักษณะและอิทธิพล
ความเชื่อประเพณีศิลปกรรม
ปราสาทขอม
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาเชิงสำรวจลักษณะและอิทธิพล ความเชื่อ ประเพณีศิลปกรรมปราสาทขอมในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง ๗ แห่งซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของปราสาทขอมในจังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาสัมภาษณ์ในครั้งนี้ คือ พระสงฆ์/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ รูป/คน และผู้ที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และนักวิชาการ จำนวน ๑๕ รูป/คน รวมทั้งสิ้น ๑๘ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึก (Recodes) และแบบสัมภาษณ์ (Interviews) เพื่อใช้เป็นเครื่องเก็บรวบรวมและนำมาจัดระบบ เรียบเรียง สังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา จากการศึกษาเชิงสำรวจ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า ความเชื่อและอิทธิพลศิลปกรรมปราสาทขอม ว่ามีการสร้างฐานของปราสาทขอม มักทำเพิ่มมุมที่มีความกว้างโดยเฉพาะด้านประกอบมุมตรงกลางเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะและอิทธิพลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมภาพเขียน ภาพแกะสลัก และประติมากรรม นูนต่ำ – นูนสูง ประกอบด้วยมีตัวปราสาท ศิลปะแบบขอมก่อด้วยอิฐฝนเรียบแนบกันแต่ละก้อนตั้งอยู่บนฐานศิลาเดียวกันในแนวทิศเหนือและทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีทางเข้าทิศตะวันออกด้านเดียวปูด้วยศิลาแลง มีผนังเรือนธาตุและรูปเทพนพเคราะห์ ๙ องค์ นิยมประทับไว้บนซุ้มประตูปราสาทขอมเท่านั้น ด้านลักษณะและอิทธิพลความเชื่อเรื่องจักรวาลเป็นความเชื่อของพวกชาวฮินดูว่าโลกจักรวาลประกอบไปด้วยทวีปทั้ง ๗ ทวีป แต่ละทวีปแผ่ขยายออกเหมือนดอกบัวแต่ละทวีปมี ๙ ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคประกอบด้วย ๑. เขาพระสุเมรุที่เป็นแกนกลางของโลก ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพ ๒. ตีนพระสุเมรุเชื่อมไปถึงนรก ๓. ยอดเขาพระสุเมรุบนเขาหิมาลัยเป็นที่อยู่ของพรหม ด้านความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนาด้านวัฒนธรรมและอารยะธรรม ซึ่งปรากฏร่องรอยภาพเขียนเชิงประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน ได้แก่ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาหม่อน ภาพเครื่องมือในการจับสัตว์ ภาพวัตถุ ภาพคน และฝ่ามือ หลักศิลาจารึกปากแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ได้พบเห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งมีอยู่ ๒ หลัก คือ จารึกของพระเจ้าจิตรเสนและจารึกของพระเจ้าอินทรวรมัน และมีหลักฐานสำคัญที่เหลืออยู่ มีความเชื่อและประเพณีเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของศาสนาพราหมณ์ทั้ง ๓ องค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ (พระอิศวร) และพระศิวะ ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ฮินดูชนนับถือเคารพยำเกรงมากที่สุด พิธีกรรมประเพณีที่พราหมณ์นิยมจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ นิยมเรียกว่า “พิธีตรียัมปวาย” หรือ “ตรีปวาย” จัดขึ้นปีละ ๑ ครั้ง ๆ ละ ๑๐ วัน (ตรงกับเดือน มาฆะมาส) ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อแสดงความเคารพบูชาต่อเทพเจ้าองค์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ ลักษณะและอิทธิพลความเชื่อศิลปกรรมปราสาทขอมในสมัยโบราณได้ยึดโยงอยู่กับคติความเชื่อของมนุษย์ในยุคอดีตกาล ประกอบด้วย ๑. การนับถือผี (Spirit won ship) ซึ่งเป็นการเคารพนับถือผีของบรรพบุรุษเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนโบราณมีความเชื่อว่า ชีวิตยังคงมีอยู่หลังตาย จึงยังมีการติดต่อเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ที่ตายไปแล้วกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อให้พลังอำนาจของผู้ที่ตายไปแล้ว โดยเฉพาะผู้เป็นบรรพบุรุษมาคอยให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองตนเอง และครอบครัว จึงมีการทำยัญพิธีพลีกรรมไปให้ท่านเหล่านั้น ๒. การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นี้ก็คือ ความต้องการให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของตน ลัทธินี้ น่าจะเกิดมาก่อนลัทธิศาสนาหลัก คือ ฮินดูและพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาผสมผสานในภายหลัง ซึ่งจะยืนยันได้ถึงแนวความเชื่อของชนเผ่าขอมโบราณ ๓. พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า ๓ องค์ ซึ่งประชาชนหรือชุมชนส่วนมากยังมีความเชื่อในองค์ประติมากรรมความเชื่อจักรวาล การบูชาในเทพเจ้าฮินดู การบูชาพญานาค และเรื่องคัมภีร์ พระเวท วัฒนธรรมของขอมหรือเขมรโบราณได้มาครอบครองผสมผสานและนำเอาวัฒนธรรมเดิมมาเผยแผ่ด้วยปรากฏอยู่ยังทรงมีอิทธิพลศิลปกรรมปราสาทขอมแทบทุกแห่งในเอเชีย เขมรและประเทศไทย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/186
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-024 นายทองแดง พุทธเกตุ.pdf10.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.