Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/181
Title: | การวิเคราะห์อิทธิพลนิทานพื้นบ้านจากหนังสือใบลานอักษรธรรมอีสาน ในจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | The education Analyses tale local northeast Influence in a book palm Alphabet Dharma northeast leaves In Ubon Rajathani |
Authors: | นามอ่อน, โสรัจ จำปารักษ์, บัญชา บุญคำภา, เฉลิมสุข |
Keywords: | นิทานพื้นบ้าน หนังสือใบลานอักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมอีสาน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่องวิเคราะห์ปรัชญาธรรมแนวคิดและคติธรรมแนวยึดถือ ประพฤติปฏิบัติในส่วนหนึ่งของภารกิจอันเป็นชีวิตจริง ประจำวันของประชาชนชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อยู่ในขอบข่ายพุทธปรัชญาและพุทธคติธรรมในนิทานพื้นบ้านอีสานอันเป็นนิทานเรื่องเอกอุดมด้วยจารีต ๑๒ ครอง ๑๔ ซึ่งเป็นขนบประเพณี ศีลธรรม วัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงาม เพื่อนำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของ หมู่เฮาชาวพุทธไทยอีสาน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางเอกสารปฐมภูมิคือ หนังสือวรรณกรรมใบลานนิทานพื้นเมืองชาวพุทธไทยอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี เอกสารที่เกี่ยวข้องทางการวิจัย และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดให้ เพื่อนำมาปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญาด้านพุทธิศึกษาคติธรรมด้านปฏิบัติศึกษา อันเป็นการดำเนินชีวิตหญิงชายโดยยึดคำสอนด้านศาสนธรรม การถือปฏิบัติจารีตประเพณี เคารพในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและความเชื่อถือของท้องถิ่น ที่สอดแทรกอยู่ในคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออกของตัวละคร ตลอดจนสาระแก่นแท้อันเป็นบทบาทที่โดดเด่นในนิทานเรื่องนั้น ๆ อันเป็นแบบฉบับที่ดีงาม ที่ยอมรับลงกันได้กับระเบียบแบบแผนขนบประเพณีที่ชาวพุทธไทย หมู่เฮาชาวอีสาน เรียกว่า ฮีตคลอง อันเป็นที่มาของคนดีเป็นเกณฑ์ตัดสินของสังคม ผลการวิจัยนี้ ทำให้ทราบได้ว่า นิทานพื้นบ้านอีสานนอกจากให้ความรู้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ม่วนชื่นโฮแซว และหลักพุทธปรัชญาแนวคิดและหลักคติธรรม แนวทางยึดถือประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันแล้ว ยังทำให้ทราบถึงแนวคิดอันล้ำลึกกว้างไกล วิจิตรพิสดารที่แสดงออกผ่านทาง สื่อกลาง คือ วรรณกรรมใบลาน อันเป็น ประจักษ์พยาน ที่ยังคง หลงเหลือไว้เป็นมรดกตกทอดอันล้ำค่าทางสังคม ให้คนไทยทั้งชาติได้ภาคภูมิใจ ไม่น้อยหน้าชนชาติใด ทั้งยังให้ทราบวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม อันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศชาติ จึงควรอนุรักษ์เผยแพร่ นิทานพื้นบ้านให้เข้าสู่กลุ่มเยาวชนให้หันมาสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเข้าสู่ระบบการสอนในสถาบัน สอนนอกระบบ และสอนตามอัธยาศัย ศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านอีสานในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านผลกระทบทางความประพฤติ การแสดงออกนอกระเบียบแบบแผน ด้านขนบธรรมประเพณี ศีลธรรมจริยธรรมอันดีงาม ที่เป็นสิ่งยั่วยุในทางสังคมปรากฏอยู่ทุกวี่วัน ที่มาของเหตุการณ์รุนแรงในสังคมปัจจุบันที่น่าเป็นห่วงยิ่ง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/181 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2551-042 นายโสรัจ นามอ่อน.pdf | 5.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.