Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/180
Title: การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Development of Self-access Learning Packages to Enhance Communicative English Skills of Community Tourism Entrepreneurship: A Case Study of Doi Saket District, Chiangmai Province
Authors: ตาละนึก, เดชา
ขันสาโรง, สาราญ
ไชยสิทธิ์, วิสุทธิชัย
อะทะเทพ, ปั่น
Keywords: การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์โครงการวิจัย ๑) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของชุมชนผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ๑) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การสำรวจความต้องการพัฒนาด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง ๒) ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ๓) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนชุดสื่อการเรียนรู้ และ ๔) แบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ๑. ระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนอยู่ในระดับปานกลางและพอใช้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในการประกอบอาชีพ ๒. ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้รับการออกแบบตามการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างมีขอบเขตด้านเนื้อหา ๕ หน่วย ดังนี้ (๑) การต้อนรับและการรับจองห้องพัก (๒) การแนะนำและให้ข้อมูลที่พัก (๓) การบริการอาหารและเครื่องดื่ม (๔) การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว (๕) การแจ้งออกจากที่พัก ผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๑ ๓. ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับดี ( = ๔.๔๐)
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/180
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-209 ดร.เดชา ตาละนึก.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.