Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/179
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปณฺฑิตเสวี, พระมหาบัณฑิต-
dc.date.accessioned2022-03-14T08:25:19Z-
dc.date.available2022-03-14T08:25:19Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/179-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลีในจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี จำนวน ๔๐๐ รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตาราง เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan.) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๕๐ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกเป็น ๓ ตอนคือ ตอนที่ ๑ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ตอนที่ ๒ เป็นการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดแสดงความคิดเห็น ปัญหาและ อุปสรรค ต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทั้ง ๓ ด้าน อยู่ในระดับน้อย แต่เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการของสำนักเรียน ๒) ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้เสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และอุปสรรค ต่อการเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถแยกออกเป็นรายข้อได้ดังนี้ ๑) อยากให้โรงเรียนปริยัติธรรมทุกสำนักเรียนได้มีการสอนบาลี และอยากมีครูสอนบาลีด้วย ๒) เสริมการเรียนการสอนนอกสถานที่ให้เต็มที่ มากกว่าเดิมยิ่งขึ้นไป ๓) อยากจะให้มีสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี โดยใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาบาลี เพื่อความเข้าใจในการท่องจำ พระภิกษุ สามเณร ผู้เรียน ๔) การจัดการเรียนการสอนสำหรับครูคฤหัสถ์ ที่สอนตามโรงเรียนปริยัติธรรมควรปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร เช่น ไม่ควรตีตัวเสมอท่าน และไม่ควรแสดงกิริยาต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมออกมา ให้รู้จักเคารพต่อเพศ พระภิกษุ และสามเณร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แห่งพระพุทธศาสนาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัยen_US
dc.subjectความคิดเห็นen_US
dc.subjectพระภิกษุสามเณรen_US
dc.subjectการเรียนพระปริยัติธรรมen_US
dc.subjectแผนกธรรม-บาลีen_US
dc.titleการศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี ในจังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeA Study of Monks and Novices’ Opinion toward the Education of Dhamma and Pali in Ubonrathathanien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2552-050 พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเสวี ดร..pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.