Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/178
Title: | การปริวรรตและวิเคราะห์รูปแบบการปกครองบ้านเมือง จากคัมภีร์ตานานเมืองพะเยา ฉบับวัดศรีโคมคำ |
Other Titles: | The Transliteration and Analysis of Governmental Forms from Phayao Chronicle Scripture, Sri Kom Khum Temple Edition |
Authors: | พระครูปลัด, สุวัฒนจริยคุณ |
Keywords: | การปริวรรต หลักการปกครอง หลักพุทธธรรม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การปริวรรตและวิเคราะห์รูปแบบการปกครองบ้านเมืองจากคัมภีร์ตานาน เมืองพะเยา ฉบับวัดศรีโคมคา มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตคัมภีร์ตานานเมืองพะเยาฉบับวัดศรีโคมคา เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการปกครองบ้านเมืองและหลักพุทธธรรมด้านการปกครองบ้านเมืองที่ปรากฏ ในคัมภีร์ตานานเมืองพะเยา และ เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและหลักการปกครองบ้านเมืองเชิง บูรณาการ การดาเนินการศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการปริวรรตเอกสารคัมภีร์ตานาน เมืองพะเยา ฉบับวัดศรีโคม จานวน ๑ ผูก วัสดุที่ใช้จารได้แก่ ใบลาน จารด้วยอักษรล้านนา มีทั้งหมด ๕๔ หน้า จารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ นับถึงปีปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๒) อายุได้ ๙๑ ปี หลังจากปริวรรต เสร็จได้ให้ผู้เชียวชาญทาการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและภาษา แล้วจึงทาการวิเคราะห์ เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ จากการศึกษาพบว่า คัมภีร์ตานานเมืองพะเยาแบ่งออกเป็น ๔ ตอนหลักๆ คือ ตอนที่ ๑ กล่าวถึง ตานานปู่เจ้าลาวจก หรือลวจักกราช ปฐมกษัตริย์เมืองหิรัญเงินยางเชียงแสน ตอนที่ ๒ กล่าวถึง ตอนพญาศรีจอมธรรมได้แยกตัวจากเมืองหิรัญเงินยางเชียงแสนมาตั้งเมืองพะเยาในปี พ.ศ. ๑๖๓๙ ตอนที่ ๓ กล่าวถึง กษัตริย์องค์สาคัญของเมืองพะเยา คือ ขุนเจืองธรรมิกราฃ พ่อขุนงาเมือง และกล่าวถึงความสัมพันธ์ของอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรเชียงราย และอาณาจักรพะเยา ตอนที่ ๔ กล่าวถึง ประวัติการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของพะเยา และความสัมพันธ์ ของเมืองพะเยาหลังถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา หลักการปกครองบ้านเมืองและหลักพุทธธรรมด้านการปกครองบ้านเมืองที่ปรากฏใน คัมภีร์ตานานเมืองพะเยา พบว่า มีหลักการปกครองที่ใช้สืบต่อกันมาอยู่ ๓ หลัก คือ หลักพ่อสอนลูก ของท้าวลวจักกราช จานวน ๑๒ ข้อ หลักประเวณียธรรมของพญาศรีจอมธรรม ปฐมกษัตริย์เมือง พะเยา จานวน ๗ ข้อ แต่สามารถถอดหลักการปกครองได้ ๑๒ ข้อ และพบหลักพุทธธรรมที่นามาใช้ ในการปกครอง คือ หลักอปริหาณิยธรรม ๗ ประการ นอกจากหลักการปกครองทั้ง ๓ ยังพบรูปแบบ การปกครองของอาณาจักรพะเยาที่พญาศรีจอมธรรมทรงวางรูปแบบการปกครองไว้อย่างเป็นระบบ นอกจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่อยู่รอบนอกแล้ว ในเขตพื้นที่เมืองพะเยา หลังจากได้ทาการกาหนดเขต พื้นที่แล้ว ยังได้แบ่งการปกครองออกเป็นออกเป็นเขตเรียกว่า พันนา ได้ ๓๖ พันนา มีการแบ่งอานาจ หน้าที่ และมอบนโยบายในการปกครองอย่างเป็นระบบ สามารถนามาบูรณาการกับการบริหารการ ปกครองในสมัยปัจจุบันได้ โดยหลักการปกครองทั้ง ๓ หลัก มีความสอดคล้องกับหลักพุทธธรรม หลัก ธรรมาภิบาล และทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการปกครองในสมัยปัจจุบันนี้. |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/178 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-064พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ, ดร.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.