Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/176
Title: | สมณสารูปของพระสงฆ์ไทยในมุมมองของพุทธปรัชญา |
Other Titles: | Thai Monk’s Proper Behavior of Buddhist Priest in a Perspective of Buddhist Philosophy |
Authors: | ปิยปัญญาวงศ์, อัญชลี กาญจนพิศศาล, สุปรียส์ |
Keywords: | สมณะ สมณสารูป พระสงฆ์ พุทธปรัชญา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสมณสารูปใน คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อวิเคราะห์สมณสารูปตามแนวคิดของพุทธปรัชญา ๓) เพื่อ เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมณสารูปของพระสงฆ์ไทย จากการศึกษาพบว่าในคัมภีร์ทางพุทธ ศาสนาในส่วนของพระวินัยและพระสุตตันตปิ ฎก ไม่ปรากฏคา ว่าสมณสารูป หากแต่จะพบได้บ้าง ในส่วนของพระอรรถกถาและพระอภิธรรมปิ ฎก ดังนั้น การเข้าใจคา ว่า “สมณสารูป” จึงต้องอาศัย มโนทัศน์เกี่ยวกับ “สมณะ” เป็นสา คัญ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้คา ว่า “สมณะ” ใน สองความหมาย ได้แก่ ๑) ผู้กาลังปฏิบัติสมณธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ (สมมติสมณะ) และ ๒) ผู้ที่ สามารถดับกิเลสได้อย่างน้อยสังโยชน์สามข้อแรก (อริยสมณะ) ซึ่งก็คือ พระอริยบุคคล ๔ กลุ่ม อัน ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ นอกจากนี้ คา ว่า “สมณะ” หมายถึง ผู้สงบกาย วาจา และใจ ดังนั้น การพิจารณาสมณ สารูปจึงแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) สมณสารูปภายนอก ซึ่งพิจารณาโดยใช้บทบัญญัติแห่งศีลและ อภิสมาจารต่างๆ เป็นเกณฑ์ แต่ในบางกรณีที่เป็นการกระทาที่ซับซ้อนอาจต้องใช้ความสอดคล้อง กับเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา และเกณฑ์พื้นฐานที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ประเมินสมณสารูป ของพระสงฆ์ในยุคก่อนมีบทบัญญัติแห่งศีลแต่ละข้อ ได้แก่ ความเป็นคนเลี้ยงง่าย บา รุงง่าย ความ เป็นคนมักน้อย สันโดษ ไม่สะสม การเป็นผู้ขัดเกลา กา จัด มีอาการน่าเลื่อมใส การเป็นผู้ไม่คลุกคลี และปรารภความเพียร และ ๒) สมณสารูปภายใน ซึ่งพิจารณาจากความเป็นอิสระจากกิเลสของจิต อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์สาคัญของการปฏิบัติสมณธรรมตามแนวทางของพระพุทธศาสนานั้นต่าง จากศาสนาอื่นๆ ก็คือ เป็นวิถีทางที่สามารถทา ให้มรรคแปดเกิดขึ้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็น หนทางเดียวที่จะนาไปสู่การบรรลุเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา (นิพพาน) ได้ ถ้าผู้ปฏิบัติ กา ลังปฏิบัติในแนวทางอื่นใดที่ไม่อาจทา ให้มรรคแปดเกิดขึ้นได้ ก็มิอาจเข้าถึงความเป็นสมณะที่ แท้จริงในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ในการวิพากษ์วิจารณ์สมณสารูปของพระสงฆ์ บุคคลทั่วไปมักจะ พิจารณาได้แค่เพียงสมณสารูปภายนอกของพระสงฆ์เท่านั้น ไม่สามารถพิจารณาสมณสารูปภายใน ของท่านได้ จึงทา ให้ไม่สามารถทราบได้ว่าพระสงฆ์รูปใดเป็นอริยสมณะ หรือเป็นอริยสมณะระดับ ใด อีกทั้งบุคคลโดยทั่วไปมักไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับศีลและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ของ พระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้การวิพากษ์วิจารณ์จึงควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1) บุคคลควรตระหนักในขอบเขตความรู้ของตน 2) บุคคลควรมีเจตนาที่ดีในการ วิพากษ์วิจารณ์ และ 3) บุคคลควรเลือกใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ที่สร้างสรรค์ สาหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมณสารูปของพระสงฆ์ไทยนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิส่วน ใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่า ๑) ควรสร้างความตระหนักในความเป็นพระสงฆ์หรือสมณสัญญาของตัว พระสงฆ์เองเป็นสาคัญ ๒) พระสงฆ์ในชุมชนสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ ควรเอาใจใส่ดูแลและเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในเรื่องการปฏิบัติตนในสังคมและการ ปฏิบัติภาวนาอย่างถูกวิธี ๓) พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นบุคคลสาคัญในการร่วมกันสอดส่องดูแลการ ประพฤติปฏิบัติตนของพระสงฆ์ และเอื้ออา นวยให้พระสงฆ์มีโอกาสได้ปฏิบัติภาวนาและเป็ น พระสงฆ์ที่ดี นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาสมณสารูปของพระสงฆ์ เช่น การปฏิรูปด้านการศึกษา และการออกกฎระเบียบในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง เหมาะสม เป็นต้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/176 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-016 อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.