Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/173
Title: | การขับเคลื่อนระบบสุขภาพโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ ตำบลหนองตาไก้ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Driving of Health System by the Buddhist Community Health Charter in Nong Ta Kai Sub-district, Pho Chai District, Roi Et Province |
Authors: | โสภณพัฒนบัณฑิต, พระ แดงหาญ, ธวัลรัตน์ รตฺนญโณ, ประเสริฐศักดิ์ |
Keywords: | การขับเคลื่อน ระบบสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย |
Abstract: | การเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปส่งผลให้เกิดปัญหาทั้ง ทางด้านสังคม และสภาวะสุขภาพ จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไข การวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาบริบทชุมชน ๒) การดำเนินการจัดทำธรรมนูญสุขภาพวิถีพุทธ ตำบลหนองตาไก้ ๓) เพื่อ ศึกษาการดำเนินการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพวิถีพุทธ ตำบลหนองตาไก้ ๔) เพื่อศึกษาผลการ ประเมินการดำเนินงานขับเคลื่อนธรรมนูญฯ และประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อธรรมนูญ สุขภาพวิถีพุทธ ตำบลหนองตาไก้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย ด้านบริบทชุมชน ตำบลหนองตาไก้ เป็นตำบลที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน กว่า ๑๐๐ ปี มีทุนทางสังคมที่หล่อหลอมด้วยพระพุทธศาสนา ผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ความ เป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนไป ต่างคนต้องออกไปทำมาหากินต่างพื้นที่ ทำให้เด็กและคนชราต้องดูแล กันเอง ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนลดลง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สลับซับซ้อนและปัญหาสุขภาพ ตามมา การแก้ไขปัญหาจึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางสังคม เสริมมาตรการทางวิชาการและกฎหมาย ของภาครัฐ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ นำจุดแข็งคือวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนวิถีพุทธมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา ยกระดับกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ หรือมาตรการทางสังคมในรูปแบบธรรมนูญตำบลที่เรียกว่า “ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ ตำบล หนองตาไก้” ด้วยปรัชญาและแนวคิดที่ว่า “ชุมชนเข้มแข็งด้วยจิตอาสา บนพื้นฐานศีล ๕ พัฒนาตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อผ่านความเห็นชอบจากประชาชนแล้วประกาศใช้ การขับเคลื่อนไปสู่การ ปฏิบัติทำในรูปแบบคณะกรรมการที่เป็นภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน โดยอาศัย หลักการบริหารจัดการที่ประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกับแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีผลงานแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกลไกการ ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อธรรมนูญฯ พบว่า มีความพึง พอใจอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/173 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-055 พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ.ดร..pdf | 5.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.