Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/167
Title: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของครอบครัวในชุมชนอาคารสูง เขตกรุงเทพมหานคร
Authors: อริยศรีพงษ์, อัครนันท์
ภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ
Keywords: ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
จิตวิทยาเชิงบวก
สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ
ครอบครัวในชุมชนอาคารสูง
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิง บวกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของครอบครัวในชุมชนอาคารสูง 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของ ครอบครัวในชุมชนอาคารสูง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของครอบครัวในชุมชนอาคารสูง การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีวิจัยปริมาณขยายผลวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ จากคู่สมรสที่อาศัยในอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร ครอบครัวคู่สมรส จำนวน 15 คู่ จำนวน 30 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างครอบครัวที่อาศัยใน อาคารสุดประกอบด้วย เพศหญิง 184 คน เพศชาย จำนวน 176 คน จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์, แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) กราฟ และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) และสหสัมประสิทธิ์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Coefficients) โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ ขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพบริบทด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิงบวก พบว่า 1.1 ปัจจัยบริบทสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 1. วีธีการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ได้แก่ 1) การดูแลสุข ภาวะทางกาย ได้แก่ (1) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (2) การออกกำลังกาย และ (3) การ พักผ่อนต่างจังหวัด 2) การดูแลสุขภาวะทางใจ ได้แก่ การสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3) การใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต ได้แก่ (1) หลักศีล 5 (2) หลักอริยสัจ 4 (3) หลักฆราวาสธรรม 4 และ (4) หลักสังคหวัตถุ 4 4) ความภูมิใจที่ตนเองมีคุณค่าต่อครอบครัวและสังคม ได้แก่ ความรู้สึก ภูมิใจที่ได้ดูแลครอบครัวดี และไม่เคยเบียดเบียน สร้างความเดือดร้อนต่อสังคม 2.วิธีการส่งเสริม ความสุขในอยู่ร่วมกันของครอบครัว คือ การสร้างกิจกรรมของครอบครัว และ 3. การมีส่วนร่วมสร้าง ชุมชนมีสุข ได้แก่ 1) เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนรวม 2) ประพฤติตนไม่ เบียดเบียนผู้อื่นและสังคม 3) การช่วยเหลือและเกื้อกูลกัน 4) กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้อยู่ร่วมกันในอาคารชุด 1.2 ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะองค์รวม เป็นการสร้างความสุขด้วย การปรับความคิดให้การคิดบวก และประยุกต์ใช้เข้ากับหลักการที่ช่วยดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ไปด้วยนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีตามมา ประกอบด้วย (1) การรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน (2) การเปิดใจพูดคุยกัน (3) ความอดทน อดกลั้นต่อการแก้ปัญหาครอบครัว (4) ความรักและความ เมตตาต่อกัน และ (5) การมีสติและความรอบคอบในการแก้ปัญหา 1.3 แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะ องค์รวมในการอาศัยอยู่ร่วมกันในอาคารชุด ได้แก่ ด้านสุภาวะทางกาย ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการ ออกกำลังกาย ด้านสุขภาวะทางสังคม ได้แก่ เน้นการพูดคุยอย่างจริงใจไม่ใส่ความ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจ ธุระของผู้อื่น ด้านสุขภาวะทางจิต ได้แก่ มีการเชิญชวนให้มาฟังพระเทศน์กัน โดยการนิมนต์พระ นักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมาที่อาคารชุด และด้านสุขภาวะทางปัญญา ได้แก่ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ด้านต่างๆ เพื่อ เพิ่มพูนสติปัญญา ความรู้ ความสามารถมาก็ขึ้นได้ 2. ปัจจัยด้านครอบครัวเป็นสุขมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธทุกด้าน และด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุดคือ ด้านสุขภาวะทางปัญญา โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .616 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หมายความว่า ผู้อาศัยอาคารสูงที่มีครอบครัวเป็นสุขสูงจะ มีสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ ด้านสุขภาวะทางปัญญาสูง และพบว่าและพบความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมชนเป็นสุขกับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ .454** .598** .453** และ .550** ตามลำดับ ซึ่งสุขภาวะองค์รวมแนว พุทธทางสังคมมีความสัมพันธ์สูงที่สุดหมายความว่า ผู้อาศัยอาคารสูงที่ชุมชนเป็นสุขสูงจะมีสุขภาวะ องค์รวมแนวพุทธทุกด้านสูง สำหรับจิตวิทยาเชิงบวก ด้านมองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์กับ ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนเป็นสุข และสุขภาวะองค์รวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01โดยมีค่าสัม ประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ .526** .480** .477** .543** .547** และ .491** ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในอาคารชุด จะมีคะแนนสุขภาวะองค์ รวมแนวพุทธอยู่ในระดับดี 3. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อ สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของครอบครัวในชุมชนอาคารสูงสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อ พิจารณาการทำนายของตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัว ได้แก่จิตวิทยาเชิงบวกรายด้าน ได้แก่ การรับรู้ ความสามารถของตนเอง ความหวัง มองโลกในแง่ดี ความหยุ่นตัว ตัวแปรครอบครัวเป็นสุข และตัว แปรชุมชนเป็นสุขพบผลว่า ตัวทำนายทั้ง 4 ตัว การรับรู้ความสามารถของตนเองความหยุ่นตัวตัวแปร ครอบครัวเป็นสุข และตัวแปรชุมชนเป็นสุข ร่วมกันทำนายสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธโดยมีปริมาณการ ทำนายอยู่ระหว่างร้อยละ 64.00 ถึง ร้อยละ 75.40 มีตัวทำนายสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถ ของตนเองความหยุ่นตัว ตัวแปรครอบครัวเป็นสุข และตัวแปรชุมชนเป็นสุข ค่าเบต้า .372 .315 .245 และ .110 ตามลำดับ สำหรับสมการในการทำนายสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในภาพรวม และกลุ่ม เพศ เมื่อใส่ตัวแปรอิสระทุกตัวเข้าไปทำนาย โดยกำหนดให้ 1) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy: SE) 2) ความหวัง (Hope)3) มองโลกในแง่ดี (optimistic) 4) ความหยุ่น ตัว (Elasticity: El) 5) ครอบครัวเป็นสุข (Happy family: HF) และ6) ตัวแปรชุมชนเป็นสุข (Happy community: HC) พบสมาการทำนายสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในภาพรวม = .372 SE + .315 El + .245 HF +.110 HC ส่วนสมการทำนาย สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (กลุ่มเพศชาย) = .283 SE + .333 HF + .334 HC และสมการทำนายสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (กลุ่มเพศหญิง) = .219 SE + .188 Optimistic + .405 HF + .276 HC
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/167
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
d41d8cd9.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.