Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกมลาศ, ภูวชนาธิพงศ์-
dc.contributor.authorอำนาจ, บัวศิริ-
dc.contributor.authorอริยศรีพงษ์, อัครนันท์-
dc.contributor.authorอมลณัฐ, กันทะสัก-
dc.contributor.authorประภัสสรพิทยา, มนัสนันท์-
dc.date.accessioned2022-03-11T04:57:24Z-
dc.date.available2022-03-11T04:57:24Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/166-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อถอดบทเรียนและออกแบบกิจกรรมโครงการรับใช้สังคม สุขวิถีพุทธในชุมชนเมือง ยุค ๔.๐ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน ๒) ประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการรับใช้สังคม สุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมือง ยุค ๔.๐ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร จานวน ๑๒๘ คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ๖๔ คนและกลุ่มควบคุม ๖๔ คน และ กลุ่มปฏิบัติธรรมวัยผู้ใหญ่ ในโครงการปฏิบัติธรรมนาสติ “จิตประภัสสร” ที่อโยธาราวิลเลจ รีสอร์ท จ.อยุธยา จานวน ๓๔ คน การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพขยายเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบวัดการพัฒนาตนสาหรับเยาวชน ๒) แบบวัดความสุขเชิงพุทธสาหรับผู้ใหญ่ ๓) แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ ๔) แนวคาถามในการสัมภาษณ์ ๕) การสังเกตพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis ) ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการถอดบทเรียนสุขชีวีวิถีพุทธสร้างสุขสาหรับชุมชุมเมืองยุค ๔.๐ ผ่านวิธีการประเมิน ๑) จุดมุ่งหมาย ๒) วิธีการพัฒนา ๓) กระบวนการมีส่วนร่วม และ ๔) ปัจจัยแห่งความสาเร็จ พบว่า พื้นที่พัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสาหรับกลุ่มเยาวชนในชุมชนเมือง ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม มีปัจจัยภายนอกเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธ ประกอบด้วย ๑) สร้างพื้นที่ทางกายภาพ ๒) กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ ๓) การสร้างเครือข่าย ข การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ๔) การพัฒนาพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ ๕) การจัดกิจกรรมในการสร้างปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยสาคัญทาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และพื้นที่เสริมสร้างสุขชีวีสาหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมวัยผู้ใหญ่ ในโครงการปฏิบัติธรรมนาสติ “จิตประภัสสร” ที่อโยธารา วิลเลจ รีสอร์ท จ.อยุธยา มีปัจจัยภายนอกเสริมสร้างความสุข ประกอบด้วย ๑) สถานที่มีความเป็นสัปปายะ ๒) หลักสูตรในการอบรมไม่เคร่งครัด ๓) ระยะเวลาเหมาะสม ไม่เกิน ๓ วันต่อเดือน ๔) วิทยากรมีเทคนิคการสอนและถ่ายทอดหลักธรรมได้เข้าใจง่าย เป็นปัจจัยสาคัญทาให้เกิดการความสุขภายใต้กรอบภาวนา ๔ ๒) การออกแบบกิจกรรมสุขชีวีวิถีพุทธสาหรับชุมชนเมืองยุค ๔.๐ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๒.๑) กลุ่มเยาวชน พบว่า กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาตนเพื่อสร้างเสริมสุขชีวีวิถีพุทธประกอบด้วย ๑๐ กิจกรรมที่บูรณการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด เพื่อเกิดการพัฒนาตนเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธมีองค์ประกอบตัวชี้วัด ๔ มิติ ได้แก่ (๑) พัฒนาตนด้านกาย (๒) พัฒนาตนด้านสังคม (๓) พัฒนาตนด้านจิตใจ และ (๔) พัฒนาตนด้านทางปัญญา และมีตัวบ่งชี้สร้างสุขชีวีวิถีพุทธ ๒๕ ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง (Chi-square = .04, df = 2, p = .98 GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.003) (๒.๒) กลุ่มวัยผู้ปฏิบัติธรรมวัยผู้ใหญ่ พบว่า กิจกรรมสุขชีวีวิถีพุทธได้แก่ การสวดมนต์ การฟังธรรม การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การเสวนาธรรม และการตักบาตรพระพายเรือ โดยมีปัจจัยแห่งความสาเร็จ ได้แก่ พื้นที่สัปปายะทางสังคม และกิจกรรมพัฒนาจิตและปัญญา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ มีองค์ประกอบตัวชี้วัด ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) สุขทางกาย (๒) สุขทางสังคม (๓) สุขทางจิตใจ และ (๓) สุขทางปัญญา มีตัวบ่งชี้ มี ๔๖ ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง (Chi-square = .70, df = 1, p = .40 GFI = 0.99, AGFI = .97, RMR = 0.009) ๓) ประเมินสัมฤทธิ์จากโครงการ วัดจากความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ พบว่า (๓.๑) ผลการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธของเยาวชน พบว่า เยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (t = 2.951**, p-value = .004) นั่นคือ คะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๘ และ ๒.๘๙ ตามลาดับ) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนกลุ่มควบคุม ระหว่างก่อน และหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และสรุปผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัด ค โครงการในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๙ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .๕๘๒ (๓.๒) ผลประเมินผลการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมวัยผู้ใหญ่ พบว่า คะแนนความสุขในการดาเนินชีวิตก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกัน โดยคะแนนความสุขในการดาเนินชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และสรุปผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .๔๖๐ ผลวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลการสร้างสุขชีวีวิถีพุทธผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน ประกอบด้วย ๑) ลักษณะพื้นที่สัปปายะทางสังคม ๒) ออกแบบกิจกรรมพัฒนาจิตและปัญญา ๓) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมความรับผิดชอบสังคม โดยมีการดาเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะของคนในสังคมและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี บนพื้นฐานหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนา นาไปสู่การสร้างรูปแบบการดาเนินชีวิตให้มีความสุขในชุมชนเมืองสอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงของสังคมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.subjectการพัฒนาตนen_US
dc.subjectสุขชีวีวิถีพุทธen_US
dc.subjectศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคมen_US
dc.titleโครงการสุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมือง ยุค ๔.๐: กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียนen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.