Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/155
Title: | การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | A Critical Study of the Cultural Identity in Sustainable Tourism in Mae Hong Son Province |
Authors: | สิรวโร, พระมหาพรชัย เหมประไพ, พระมหาขวัญชัย |
Keywords: | อัตลักษณ์ วัฒนธรรม |
Issue Date: | 28-Sep-2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Series/Report no.: | MCU RS 610760298;; |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว ๒. เพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๓. เพื่อค้นหาตัวชี้วัดในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้ชำนาญ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว หากพิจารณาจะพบแนวคิดบนความเข้าใจบนลักษณะที่แสดงความเป็นตัวตนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และความยั่งยืนของระบบนิเวศ โดยมีรูปแบบแนวคิดหลักของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวใน ๒ แบบคือ ๑. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวแบบชุมชน เป็นรูปแบบการนำเสนอการท่องเที่ยวอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ชุมชนเป็นผู้สร้างและดำเนินการ ๒. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวแบบรัฐ เป็นการท่องเที่ยวอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ผ่านการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐหรือเห็นรายได้ในการจัดการดังกล่าว การวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ถูกนำเสนอผ่านชุมชนบ้านผาบ่อง ซึ่งมีอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ และชุมชนบ้านสันติชล คือชาวจีนยูนนานหรือจีนฮ่อโดยวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองนี้ มีการอนุรักษ์ไว้ภายในชุมชน มีการรวมตัวกันของชุมชน มีผู้นำชุมชนที่มองเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ดังกล่าว และสร้างภาพลักษณ์เชิงการท่องเที่ยวทั้งในแง่วัฒนธรรมและธรรมชาติที่ผสมผสานกันอย่างหลงตัว มีการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐจนกลายเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และที่สำคัญสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีความเข้าใจในชาติพันธุ์ ความเชื่อ และใช้ชีวิตบนรากฐานของวัฒนธรรมตนเองเป็นหลัก มีความเข้มแข็งของชุมชน สร้างการท่องเที่ยวที่มั่งคงและยั่งยืนการค้นหาตัวชี้วัดในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้วางรูปแบบตัวชี้วัดไว้ ๓ ระดับคือ ๑. มิติทางกายภาพ มีเป้าหมายหรือคุณค่าทางด้านเรื่องอาหาร การแต่งกายและที่อยู่อาศัย โดยมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือ ยึดถือชาติพันธ์ มีวิถีชีวิต |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/155 |
Appears in Collections: | ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
รายงานวิจัยอัตลักษณ์.pdf | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.