Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/153
Title: | อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | The Cultural Identity in Sustainable Tourism in Mae Hong Son Province |
Authors: | พระมหาพรชัย, สิริวโร,ดร. พระมหาขวัญชัย, กิตฺติเมธี,ผศ.ดร. ไข่มุก, เหล่าพิพัฒนา เพ็ญพรรณ, เฟื่องฟูลอย |
Keywords: | อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
Issue Date: | 13-Jun-2563 |
Publisher: | วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) |
Citation: | TCI 2 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ คือ ผู้นาภาครัฐ ผู้นาในพื้นที่หมู่บ้าน สมาชิกชุมชน และนักท่องเที่ยว รวบรวมข้อมูลลักษณะทางกายภาพ อัตลักษณ์ของชุมชน และวิเคราะห์ อัตลักษณ์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว มี 3 ระดับคือ 1. อัตลักษณ์ทางกายภาพ คือ ลักษณะภายนอกที่แสดงออกผ่านบุคคล อุปกรณ์เครื่องใช้และสิ่งก่อสร้าง เช่น เครื่องนุ่งห่ม บ้าน เป็นต้น 2. อัตลักษณ์ทางจิตใจ คือลักษณะแรงจูงใจที่เกิดจากศาสนา พลักดันให้เกิดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน เช่น การทาบุญตักบาตร การเคารพผู้ใหญ่ เป็นต้น 3. อัตลักษณ์ทางปัญญา คือ ลักษณะที่แสดงออกทางวัตถุผ่านเครื่องหมาย สัญลักษณ์และรูปแบบวิถีชีวิต รวมถึงการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน เช่น ภาษา การแพทย์ เป็นต้น การค้นหาตัวชี้วัดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้วางรูปแบบตัวชี้วัดไว้ 3 ระดับคือ 1. มิติทางกายภาพ ได้แก่ คาพูดไพเราะ การแต่งกายสุภาพ มีการละเล่นในชุมชน บ้านเรือนเป็นระเบียบ มีอาหารพื้นถิ่นที่สะอาด และการแต่งกายตามแบบชาติพันธุ์ 2. มิติทางจิตใจ ได้แก่ มีบุคลิกเคารพผู้ใหญ่ อ่อนน้อมผู้อื่น มีจิตใจกลัวบาป และชอบทาบุญตักบาตร 3. มิติทางปัญญา ได้แก่ พูดภาษาชนเผ่าดั้งเดิม มีการละเล่น มีการแพทย์ มีสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมและป้องกันสิ่งแปลกปลอม ปลูกฝังค่านิยมด้านศีลธรรมในชุมชน และมีศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถานและข้าวของเครื่องใช้ของชาติพันธุ์ |
Description: | บทความวิจัย |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/153 |
ISSN: | 2630-0788 |
Appears in Collections: | บทความ (Articles) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
บทความวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน.pdf | 254.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.