Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/139
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธมฺมหาโส, พระมหาหรรษา ศ.ดร-
dc.date.accessioned2021-08-03T03:52:36Z-
dc.date.available2021-08-03T03:52:36Z-
dc.date.issued2564-08-03-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/139-
dc.descriptionคำนิยม สู่ก้าวใหญ่ของอารยธรรม งานตำรา หรืองานวิจัยเป็นความหมายของความเป็นมหาวิทยาลัยเป็นอำนาจหน้าที่และเป็นวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยคู่กันกับการศึกษา งานตำรา และงานวิจัยนั่นเองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การศึกษาเป็นอุดมสมที่จะได้ชื่อว่าอุดมศึกษา มีพุทธพจน์ว่าพึงวิจัยธรรมให้ตลอดสายจึงจะเห็นอรรถแจ้งชัดด้วยปัญญา(โยนิโสวิจิเนธมฺมํ, ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ; องฺ.สตฺตก.๒๓/๓/๒) การวิจัยทำให้ความรู้เข้าถึงความจริงเมื่อความรู้ถึงความจริงแล้วก็เสริมสร้างปัญญาที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาและทำการสร้างสรรค์ต่างๆได้ถูกทางตรงที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากเป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาตำรา และวิจัยแห่งหนึ่งอย่างมหาวิทยาลัยทั้งหลายแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์อันเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษด้วย ผลงานปรากฏออกมาให้เห็นว่าพระมหาหรรษาธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร) เอาจริงเอาจังกับการทำงานพัฒนาตำราและมีผลงานทั้งตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาชัดเจนเฉพาะอย่างยิ่ง ตำราเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” เป็นการนำเอาประเด็นทางวิชาการมาปฏิบัติจัดทำเป็นขุมแห่งปัญญานั้นทีเดียว ถ้าก้าวไปด้วยดีก็จะถึงขั้นที่เป็นการเบิกฟ้าแห่งวิชาการ เวลานี้ เป็นที่ยอมรับกันว่า ประดาวิทยาการที่เจริญก้าวหน้าเท่าที่มีมาทั้งหมดไม่สามารถช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาของโลกและชีวิตได้อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจิตใจ ปัญหาสังคม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม หนำซ้ำ บางทีเหมือนจะเอื้อให้ปัญหาเหล่านั้นยิ่งรุนแรงหรือเพิ่มทวี จึงถึงเวลาที่จะมีการก้าวใหญ่ครั้งสำคัญในการหาทางออกให้แก่มนุษยชาติ ว่าโดยทั่วไป วิทยาการสมัยใหม่มีข้อดีในแง่ที่มักเปิดกว้างต่อการปรับแก้เพิ่มขยายความรู้คือยังรับการพัฒนาต่อไป แน่ใจได้ว่า การวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จะหยั่งไปถึงความรู้ในแดนใหม่อย่างน้อยในแง่มุมใหม่ ที่จะมาเสริม หรือมาเติมเต็ม ให้แก่วิทยาการสมัยใหม่หรืออาจเป็นไปได้ที่จะถึงกับให้ปัญญาอันจะแก้ปัญหาของมนุษยชาติที่ติดตันกันอยู่ได้ ตำราเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” เป็นงานวิชาการที่นำความรู้ ความเข้าใจในแดนของพระพุทธศาสนา มาจ่อหรือจดถึงกันกับบรรดาวิทยาการสมัยใหม่ อย่างน้อยในเชิงเทียบเคียงขั้นพื้นฐาน แม้นหากจะเป็นจุดต่อหรือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการที่จะก้าวไปให้ถึงที่หมายในการช่วยเสริม ช่วยเติมเต็มแก่ปัญญาของสรรพวิทยาการสมัยใหม่หรือแม้กระทั่งชี้ทางสว่างตรงในการแก้ปัญหาของมนุษยชาติที่กล่าวแล้วนั้นให้สำเร็จได้นอกจากเป็นความสัมฤทธิ์ของการทำหน้าที่และบรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยแล้วก็จะเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ ขออนุโมทนาความพากเพียรทางวิชาการของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร) ที่ได้สร้างตำราเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” นี้ขึ้น พร้อมทั้งหวังว่างานนี้จะเป็นขั้นหนึ่งของการก้าวต่อไปในการบำเพ็ญประโยชน์แก่มวลมนุษย์ด้วยการนำพาชาวโลกให้ได้พบกับแสงสว่างจนแม้กระทั่งเข้าถึงปรีชาญาณของพระพุทธศาสนา และนำพุทธปัญญามาใช้แก้ปัญหาเพื่อสันติสุขของปวงประชา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๕เมษายน๒๕๕๗ คำอนุโมทนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ที่มุ่งจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีพันธกิจผลิตบัณฑิต วิจัย และพัฒนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และบริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พระราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง พระไตรปิฎกจึงหมายถึงพระพุทธศาสนา และวิชาชั้นสูง หมายถึง วิทยาการ หรือศาสตร์สมัยใหม่ จากตัวแปรนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดการศึกษาโดยเน้นการบูรณาการพระพุทธศาสนากับวิทยาการ หรือศาสตร์สมัยใหม่ภายใต้ปรัชญาที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” จากปรัชญาดังกล่าว จึงนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” ในระดับปริญญาเอก และ วิชา “พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่” ในระดับปริญญาโทขึ้น เพื่อให้วิชาดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการเปิดตาใน และตานอกของผู้เรียนให้สามารถเข้าใจโลกตามความเป็นจริง และใช้ชีวิตอยู่เหนือโลกธรรมทั้งมวล ตำราเล่มนี้ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ได้ร่วมตอบคำถาม และนำเสนอมุมมองโดยการบูรณาการพระพุทธศาสนา กับวิทยาการหรือศาสตร์สมัยใหม่ ในมิติที่หลากหลาย และลุ่มลึก ทั้งในมิติของวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยการนำโลก ๓ ในพระพุทธศาสนา คือ โอกาสโลก สัตวโลก และสังขารโลก มาอธิบายเปรียบเทียบ และเชื่อมโยงได้อย่างประสานสอดคล้อง ตำราเล่มนี้จึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ อธิบาย ตีความ สังเคราะห์ และบูรณาการหลักการระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ที่สอดรับยุคสมัย และความเป็นไปของสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน ขออนุโมทนาต่อกุศลเจตนาอันแรงกล้าของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ที่ได้มีวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาในการเขียนตำราเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้คณาจารย์ และนิสิตได้ใช้เป็นคู่มือศึกษา และค้นคว้าในรายวิชา “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” และ “พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่” ในระดับปริญญาเอก และปริญญาโทของมหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำราเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาตามแนวทางของพุทธบูรณาการ และพุทธสหวิทยาการ สอดรับกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” ต่อไป. พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.titleหนังสือ “พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่”en_US
dc.typeBooken_US
Appears in Collections:หนังสือ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Futuretoday.jpg194.02 kBJPEGView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.