Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/138
Title: | แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า |
Authors: | ธมฺมหาโส, พระมหาหรรษา ศ.ดร |
Issue Date: | 3-Aug-2564 |
Description: | ในขณะที่ชุมชน และสังคมกำลังเผชิญหน้ากับความแตกแยกและแบ่งฝ่ายอย่างร้าวลึกในช่วง ๑๐ กว่าปี บทบาทที่ถือได้ว่าเป็นภารกิจเร่งด่วนของของพระสงฆ์คือการเข้าไปหน้าที่ “วิศวกรสันติภาพ” เพื่อเสริมสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยตามนโยบายของรัฐบาล และข้อเสนอแนะ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติที่ว่า “บุคลากรทางศาสนาควรเพิ่มบทบาทในการลดความแตกแยก ส่งเสริมสันติภาพ และแก้ไขความขัดแย้งในสังคมโดยสันติวิธี” ฉะนั้น “ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูหลักศีลธรรมและจริยธรรม และสนับสนุนให้สถาบันศาสนาเข้ามามีบทบาทในการลดความขัดแย้ง และยุติการใช้ความรุนแรง” โดยการเปิดพื้นที่ให้พระสงฆ์เข้าไปเป็นผู้นำกระบวนการกลุ่มเปิดเวทีพูดคุยเพราะคุณสมบัติเด่นของพระสงฆ์คือ “การเป็นนักฟังที่ดี” (Mindful Listening) เพราะดำรงความเป็นกลางระหว่างผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มต่างๆ นอกจากนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อว่า “การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ดีมีจุดเริ่มต้นมาจากพลเมืองที่ดี” พระสงฆ์ถือว่าเป็นพลเมืองของประเทศชาติที่ควรเข้าไปทำหน้าที่ในการช่วยรัฐพัฒนา “คนดี” ให้กลายเป็น “พลเมืองที่ดี” ของประเทศชาติ และของโลก ซึ่งหลักการในพระพุทธศาสนาเอื้อต่อแนวทางในการพัฒนาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นหลักสังคห วัตถุธรรม หลักสุจริตธรรม หลักคารวธรรม หลักเมตตาธรรม และหลักสันติธรรม ในการพัฒนาพลเมืองอย่างรอบด้านจำเป็นต้องเปิดใจให้มีการพูดคุยและวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มคนต่างๆ พระสงฆ์ควรพัฒนาทักษะใน การที่จะสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) โดยเข้าใจวิธีการและกระบวนการสื่อสารทั้งระบบตามหลัก SMCR ประกอบด้วย ผู้ส่ง (Source) ข้อมูลข่าวสาร (Message) ช่องทางในการส่ง (Channel) และ1ผู้รับ (Receiver) (๔) การเปิดใจ (Open Mind) รับฟังจากรัฐ ผู้นำ หรือนักการเมืองด้วยใจที่เป็นกุศล ในปัจจุบันและอนาคตนั้น การดำเนินกิจการทางการเมืองของพระสงฆ์โดยการชุมนุมเพื่อประท้วงนักการเมืองหรือรัฐนั้น แม้ว่าประเพณีในสังคมไทย พระธรรมวินัย และกฎหมายรัฐธรรมนูญจะเปิดพื้นที่ให้ (ก) พระสงฆ์สามารถดำเนินการประกาศควํ่าบาตรด้วยมติของสงฆ์ ทั้งระดับหมู่บ้านจนถึงระดับประเทศต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำผิดต่อพระพุทธศาสนา (ข) ควํ่าบาตรต่อรัฐ หรือนักการเมือที่ดำเนินนโยบายกระทบต่อวิถีวิถีชีวิตของพลเมืองและวิถีธรรมของชุมชน สังคม และศาสนา เพื่อรักษาผลประโยชน์และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย แต่พระสงฆ์ควรระมัดระวังท่าทีการแสดงออกทางกาย วาจา และใจเพราะอาจจะส่งผลต่อความอยู่รอดพระพุทธศาสนาในรูปขององค์กรในระยะสั้น และระยะยาว โดยดำเนินการประท้วงภายใต้เกณฑ์ชี้วัดใน ๓ ประเด็นคือ (๑) แนวคิด (Concept) (๒) เนื้อหา (Content) และ (๓) บริบท (Context) สำหรับแนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับสิทธิการเลือกตั้งในอนาคตขึ้นอยู่ตัวแปร ๓ ประการคือ (๑) การดำเนินนโยบายของรัฐต่อพระพุทธศาสนาที่ขาดความเข้าใจ และไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทยจะนับถือพระพุทธศาสนาก็ตาม (๒) การขาดการตระหนักรู้ของนักการเมืองต่อชาตากรรมของพระพุทธศาสนา ทั้งในเชิงพฤตินัยและนิตินัย (๓) การดำเนินนโยบายของศาสนิกและศาสนาอื่นๆ ที่กระทบต่อความรู้สึกของพุทธศาสนิกชน หรือการไม่สามารถที่ป้องกันมิให้ศาสนาหรือศาสนิกของศาสนาอื่นๆ ทำร้าย หรือกระทำการณ์ที่บั่นทอนพระพุทธศาสนาในลักษณะต่างๆ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/138 |
Appears in Collections: | หนังสือ |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.