Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1325
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแสนวงค์, ไกรสร-
dc.contributor.authorญาณิสฺสโร, พระนฤพันธ์-
dc.contributor.authorนริสฺสโร, พระมหาอรรถพล-
dc.contributor.authorเหลืองพิทักษ์, ปิ่นปินัทธ์-
dc.contributor.authorกันทะรส, พุทธิพงษ์-
dc.date.accessioned2025-07-19T05:55:45Z-
dc.date.available2025-07-19T05:55:45Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1325-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ 1) เพื่อศึกษา ศักยภาพพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธในจังหวัดลาพูน 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะและ กระบวนการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธในจังหวัดลาพูน 3) เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธของจังหวัดลาพูน 4) เพื่อพัฒนา นวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธของการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลาพูน โดยผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้ เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ และ การสนทนากลุ่ม นาเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อให้เห็นถึงสภาพการณ์ของพื้นที่วิจัย กลุ่มเครือข่าย และพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถี พุทธในจังหวัดลาพูน รวมถึงศักยภาพ และสมรรถนะของแต่ละเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า ๑) ศักยภาพพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธในจังหวัด ลาพูน ได้แก่ เฮือนสมุนไพร เป็นแหล่งข้อมูลและศูนย์การเรียนรู้ด้านพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลาย และเป็นศูนย์รวมของผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ศูนย์เรียนรู้ครัวเรือนพอเพียง (84 ครัวเรือน) มีการ เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ มีกิจกรรมที่เทศบาล ให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการฝึกอบรม พัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างความเข้มแข็งให้ครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ วัฒนธรรมตาบลอุโมงค์ เป็นศูนย์กลางรวบรวมและจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการทามาหากินของ ชาวบ้านในอดีตให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ทั้งนี้ยังได้พัฒนาบริเวณอาคารให้เป็นสวนสาธารณะพักผ่อน หย่อนใจอีกด้วย และศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนตาบลอุโมงค์ เป็นวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวโดย ชุมชนที่มุ่งเน้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว โดยยึดถือ แนวทางการท่องเที่ยวของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน โดยมีกิจกรรมด้านสุขภาพในชุมชน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ ๒) การพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิง สุขภาพวิถีพุทธในจังหวัดลาพูน เป็นการพัฒนาสมรรถนะสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้าน การปฏิบัติ ไดแก่ พื้นที่และเส้นทางการท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรมด้านสุขภาพในชุมชน บุคลากรที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ ๓) การพัฒนา ข เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธของจังหวัดลาพูน โดยการกาหนดเส้นทางการ ท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธ มุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวได้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์ รวมตามหลักภาวนาธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยได้ประโยชน์ ๔ ประการ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา ที่ทาให้นักท่องเที่ยวมีสุขภาวะที่ดี และ ๔) พัฒนานวัตกรรม การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธของการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลาพูน พบว่า เกิดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธมีการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในชุมชนตาบลอุโมงค์แล้วนั้น เพื่อเป็นการ บริการและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากแก่คนในชุมชน จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อเป็นการ บริการแก่นักท่องเที่ยว และการสร้างได้แก่คนในชุมชน และยังได้พัฒนานวัตกรรมด้านการบริการการ ท่องเที่ยว และการพัฒนากระบวนการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธอย่างต่อเนื่องen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพวิถีพุทธen_US
dc.subjectสมรรถนะและกระบวนการen_US
dc.subjectการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.titleการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีพุทธ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลาพูนen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a Buddhist health tourism community to strengthen the foundational economy in Lamphun Provinceen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.035.2565.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.