Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวชิรธมฺโม, พระมหาวิเชียร-
dc.contributor.authorวัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์-
dc.contributor.authorนรารัตน์วงศ์, ชุมศักดิ์-
dc.contributor.authorพระครูสุตกิจสโมสร-
dc.date.accessioned2025-07-19T05:40:10Z-
dc.date.available2025-07-19T05:40:10Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1321-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “แล” รูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง “แลดูเบิ่งผ่อ” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี ๒) ผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี และ๓) สร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดในจังหวัดปัตตานี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้แก่ การคัดเลือกตัวแทนเยาวชนในท้องถิ่น โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ เป็นเยาวชนในท้องถิ่นที่สนใจในโครงการฯ จำนวน ๕ กลุ่ม ๆ ละ ๔ คน รวมทั้งหมด ๒๐ คน โดยการจัดฝึกอบรมตามกระบวนการวิจัยเป็นเวลา ๓ วันต่อเนื่อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) การศึกษารูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี พบว่า เป็นรูปแบบเชิงข้อความ (Semantic Model) ที่ใช้ภาษาเป็นสื่อในการบรรยาย หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อให้เห็นมโนทัศน์ โครงสร้างทางความคิด อธิบายให้เห็นถึงองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (๑) ปัจจัยนำเข้า (๒) กระบวนการ (๓) ผลผลิต และ (๔) ข้อมูลย้อนกลับ พัฒนาโดยการศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรม การสังเกตุพฤติกรรม การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประกวดผลงาน เพื่อให้ได้สาระครอบคลุมครบถ้วนตามความต้องการอย่างแท้จริงของการพัฒนารูปแบบ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนในการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี ๒) การผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี พบว่า เยาวชนสามารถผลิตสื่อสร้างออกมาได้พอประมาณ แต่ยังขาดรายละเอียดในบางส่วน เช่น การเรียงลำดับเรื่องราวของสื่อที่ผลิตยังไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากมีคอนเทนต์หลายอย่างในเรื่องเดียว อีกทั้งยังตัดต่อภาพและเสียงไม่ค่อยทัน เนื่องจากมีเวลาจำกัดในการตัด ข ต่อ เพียงแค่ ๖ ชั่วโมง จึงต้องขยายระยะเวลาในการส่งคลิปออกไปอีก ๓-๔ ชั่วโมง แต่ถึงกระนั้นจากการสอบถามเยาวชนผู้เข้ารับการอบรมในครั้ง พบว่า เยาวชนมีความสนุกสนาน กับกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ และอยากให้มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้อีก แต่ให้เพิ่มระยะเวลาเป็น ๓ คืน ๔ วัน เพื่อให้คลิปที่สร้างสรรค์ออกมาสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ ผลตอบรับจากชุมชนดีมาก ชุมชนให้ความร่วมมือตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมและยังเป็นการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของเยาวชนไปสู่โลกภายนอกอีกด้วย ๓) การสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดในจังหวัดปัตตานี พบว่า กระบวนการสร้างเครือข่ายของเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี มีปัญหาในเรื่องของการขาดกิจกรรมนันทนาการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ผู้เข้าอบรม ในส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ทางกลุ่มเยาวชนอยากให้มีกิจกรรมกลุ่ม กระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม ควรมีกิจกรรมนันทนาการสอดแทรก เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สนุกยิ่งขึ้น เป็นต้น อีกทั้งคณะผู้วิจัยได้พัฒนาเพจ “แลดูเบิ่งผ่อ_เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์” (https://shorturl.asia/TMWre) ที่ใช้ในการเผยแพร่ผลงานของเหล่าเยาวชนในเครือข่ายของโครงการ “แลดูเบิ่งผ่อ” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.subjectสื่อสร้างสรรค์en_US
dc.subjectพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดen_US
dc.titleแล” รูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternative"Lae” Model of Traditional and Cultural Creative Media for local Development of youth in Pattani Province.en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.034.2565.ย่อย1.pdf9.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.