Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1319
Title: | ความยั่งยืนของชุมชนภาคบริการท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | The sustainability of the service sector community amid the diversity in Narathiwat Province |
Authors: | สมฺปนฺโน, พระมหาสมคิด มณีรัตนวงศ์, นิเวศน์ นิ่มเรือง, ธนาวดี จันทนวล, รัชชเมธ |
Keywords: | ความยั่งยืนของชุมชน การบริการ การท่องเที่ยว |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริการของชุมชนผู้ให้บริการด้านการท่องเทียวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและศึกษาจากภาคสนาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อยและทำกิจกรรมพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า ด้านรูปแบบการบริการของชุมชนผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า รูปแบบการบริการได้ปรากฏใน ๒ มิติ คือ มิติที่ ๑ การบริการที่เริ่มต้นจากนโยบายด้านการท่องเที่ยวจากภาครัฐและได้ส่งต่อมาสู่ระดับปฏิบัติการที่ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนจะต้องปฏิบัติร่วมกันโดยภาครัฐจะอยู่ทั้งในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบายและเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายควบคู่กับภาคประชาชน มิติที่ ๒ การบริการที่เป็นการขับเคลื่อนตามธรรมชาติอันได้แก่ภาคประชาชนที่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการรับจ้าง ซึ่งเป็นการประกอบการเพื่อเลี้ยงชีพของตนตามปกติที่ถึงแม้จะไม่มีนโยบายด้านการบริการจากภาครัฐมากำกับดูแล กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวก็มีรูปแบบการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่เป็นของเฉพาะตนอยู่แล้ว ด้านการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า ในการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการ จำเป็นที่จะต้อง ๑) พัฒนาด้านความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ ข ให้บริการ ๒) สร้างความร่วมมือภายในและภายนอกชุมชน นอกจากนี้ การสร้างความร่วมมือระหว่างกันจะต้องอยู่ภายใต้ระบบที่กำหนดและภาคบริการจะต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรมตลอดถึงต้องช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้แก่กันและกัน ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า เครือข่ายความร่วมมือที่ใหญ่และสำคัญที่สุดคือหน่วยงานภาครัฐกับภาคประชาชน รองลงมาคือเครือข่ายภาคประชาชนกับประชาชนที่ประกอบอาชีพด้านการบริการที่แตกต่างกัน โดยในประเด็นการเสริมสร้างเครือข่ายสรุปได้ว่าสมาชิกในเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึง ๑) ความจำเป็นในการมีเครือข่าย ๒) ความเป็นเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบ ๓) การวิเคราะห์บทบาทสมาชิกในเครือข่าย ๔) ผลประโยชน์จากการทำงานเชิงเครือข่าย เมื่อเข้าใจในสาระสำคัญทั้ง ๔ ประการนี้แล้วจึงควรทำหน้าที่ที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่มวลสมาชิกในเครือข่าย |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1319 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.033.2565.ย่อย3.pdf | 4.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.