Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1314
Title: การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลำปาง
Other Titles: The Production of Creative Economic Products on Museum Community Network in Lampang Province
Authors: ศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์
วชิราวุโธ, พระมหาสุพัตร์
วิเศษ, สหัทยา
กระจ่างแจ้ง, เบญญาดา
เทพรักษ์, ปาณิสรา
Keywords: การพัฒนาผลิตภัณฑ์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการผลิตผลิตภัณฑ์ของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทานากลุ่มย่อย การมีส่วนร่วมของชุมชน และปฏิบัติการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและและกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า แนวคิดการผลิตผลิตภัณฑ์ของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น เพื่อแสดงอัตลักษณ์และสร้างรายได้ของชุมชน ซึ่งสามารถจำแนกหลักการผลิตผลิตภัณฑ์ออกเป็น ๓ รูปแบบ ได้แก่ ๑) รูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์โดยชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อัตลักษณ์และสร้างรายได้ (๒) การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์โดยเอกชน โดยการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์จากการสะสมวัตถุ สิ่งของหรือเรื่องราวต่างๆ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม (๓) การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์โดยหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเผยแพร่ผลงานและการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ๒) รูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ให้ความรู้และเป็นประสบการณ์ตรงให้แก่นักท่องเที่ยว และแฝงด้วยหลักปรัชญาชีวิต และ ๓) การวิเคราะห์รูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่า การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย มุ่งเน้นการผลิตเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย สินค้าที่ระลึก และสินค้าตามหลักความเชื่อทางศาสนาในท้องถิ่น ขณะที่การผลิตผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ เป็นกิจกรรมที่แปลกประหลาด มีคุณค่าทางด้านสุนทรียศาสตร์และแฝงด้วยหลักปรัชญาในการใช้ชีวิต การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน โดยมีกระบวนการ ดังนี้ ๑) กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ (๑.๑) การจัดเวทีชุมชนระดมแนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์ (๑.๒) การนำเสนอรูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์ (๑.๓) การระดมความคิดเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ (๑.๔) จัดตั้งคณะทำงานวิจัยชุมชน (๑.๕) การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และ (๑.๖) การปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ๒) วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ (๒.๑) ปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ การนำต้นแบบผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ที่จำลองมาขยายผล (๒.๒) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (๒.๓) การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ (๒.๔) การวิเคราะห์และทบทวนปฏิบัติการ (๒.๕) การทดลองพื้นที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และ (๒.๖) การทำเวทีสรุปบทเรียน และ ๓) รูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ กระบวนต้นน้ำ จากการสำรวจบริชุมชน ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม กระบวนการกลางน้ำ โดยการลงมือปฏิบัติการและต่อยอดไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรรค์ และกระบวนการปลายน้ำ การจำหน่ายสินค้า การสร้างพื้นที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบการมีส่วนร่วม และการทำเวทีสรุปบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการเสริมสร้างการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนสามารถจำแนกออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑) แนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การคิดริเริ่ม ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผนและปฏิบัติงาน ๒) แนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นอัตลักษณ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อสะท้อนภูมิวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านผลิตภัณฑ์ โดยต้องมีเหมาะสมและไม่ขัดต่อความเชื่อท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะ และ ๓) แนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างรายได้ โดยการพัฒนาให้การผลิตผลิตภัณฑ์สามารถเป็นอาชีพหลัก จากการหาวัสดุได้ในชุมชน การผลิตต้องทันสมัย และจะต้องส่งเสริมช่องทางการขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางการค้ากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อจะได้นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในกิจกรรมหรือนิทรรศการต่างๆ และการจดสิทธิบัตร เพื่อมิให้เกิดการคัดลอกผลิตภัณฑ์และเป็นการป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการสร้างรายได้และการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ของวัดและชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1314
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.032.2565.ย่อย3.pdf12.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.