Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1310
Title: | การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การเกษตรกาแฟดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Strengthening Process for Strengthening Doi Chaang Coffee Producers Community Enterprise, Mae Suai District, Chiang Rai Province |
Authors: | ปัญญาผ่องใส, ดำเนิน |
Keywords: | การท่องเที่ยว วัฒนธรรม ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เครือข่าย |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นและประชาชน การสัมภาษณ์ลงพื้นที่สังเกตการณ์จากสภาพจริงและเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวิสาหกิจชุมชนการเกษตรกาแฟดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยช้าง เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยช้าง และเพื่อการนำเสนอรูปแบบเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยช้าง ผลการวิจัยพบว่า ๑. องค์ความรู้ที่เป็นผลการจัดการความรู้ในระดับชุมชนด้านการศึกษาเชิงสำรวจ ข้อมูลและวิธีการใช้ประโยชน์ของการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเกษตรกาแฟดอยช้าง ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ๒. การเสริมสร้างเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยช้าง โดยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นภาคีเครือข่ายในการผลิตและจัดการความรู้เรื่องการผลิต การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่น การพัฒนาแบบผสมผสานแหล่งความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. การนำเสนอรูปแบบเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยช้าง ทำให้ได้แหล่งความรู้ใหม่ที่สำคัญที่นำไปสู่กระบวนการสร้างชุมชนให้มีรายได้ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แยกพิจารณาถึงจุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค รวมทั้งการวิเคราะห์การพัฒนาด้านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สรุปได้ว่าการเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการบริหารจัดการ ของ กลุ่มผู้ผลิตกาแฟที่มีการรวมตัวกัน มีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ทุกคนในชุมชนดอยช้าง เป็นเจ้าของวิสาหกิจได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกรรมวิธีในการผลิตกาแฟด้วยกันและการเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีเป้าหมายการบริหารจัดการของกลุ่มการแสดงรายละเอียดโครงสร้างองค์กรการจด ทะเบียนองค์กรเพื่อให้ทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของวิสาหกิจได้รับประโยชน์ร่วมกัน สามารถกำหนดราคาผลิตภัณฑ์กาแฟด้วยตนเอง มีความพึงพอใจและยอมรับได้กับสัดส่วนในการกำหนดราคาที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืนของธุรกิจ มีรูปแบบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสได้และคงความเป็นธรรมชาติ เน้นความเป็นกันเองและเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1310 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.030.2565.ย่อย3.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.