Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1306
Title: พุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ ในยุคสังคมวิถีชีวิตใหม่
Other Titles: Buddhism innovation E-learning English media for the Vipassana meditation retreat according to Satipaṭṭhāna Sutta in new normal society
Authors: พระครูโกวิทอรรถวาที
ณ วันนา, ไพรินทร์
ใจสิทธิ์, เสน่ห์
สมเจริญ, นฤพันธ์
ตาปูลิง, จันทรัสม์
Keywords: พุทธนวัตกรรม
ชุดความรู้
วิปัสสนา
สติปัฎฐานทั้งสี่
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: รายงานการวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) ศึกษาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ ๒) พัฒนาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ให้เป็นรูปแบบภาษาอังกฤษ ๓) พัฒนาชุดความรู้พุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ และ๔) เผยแพร่ชุดความรู้พุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานทั้งสี่และเกี่ยวข้องกับหลักการเรียนภาษาอังกฤษ จานวน ๒๐ รูปหรือคน สาระสาคัญประเด็นการสัมภาษณ์ ทาการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analytic) สาหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้วิจัยใช้กลุ่มทดลองปฏิบัติการคือ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลาพูน ภาคภาษาอังกฤษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จานวน ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ มีเป้าหมายสาคัญคือเพื่อให้เกิดความหลุดพ้น เป็นทางที่มุ่งสู่มรรคผลแห่งนิพพาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีหลักธรรม คือ วิปัสสนาภูมิ ๖ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักการพัฒนาปัญญาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย การปฏิบัติในแบบสติปัฏฐานตามที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร จัดเป็นหลักสัมมาสติ คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน และการปฏิบัติในขั้นเริ่มปฏิบัติ โดยจะกาหนดอิริยาบถ ๔ ซึ่งเป็นอิริยาบถใหญ่ คือ การยืน เดิน นั่ง และนอน อย่างมีสติ ให้กาหนดการนั่งสมาธิ กาหนดปัจจุบันความเกิดดับของรูปนาม สิ่งที่จะได้ คือ ไตรสิกขา อริยะมรรค ๘ ญาณ ๑๖ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ทั้งนี้ ก่อนการปฏิบัติวิปัสสนาควรทาจิตให้สงบก่อนโดยปฏิบัติสมถะกัมมัฏฐานก่อน ๒. การพัฒนาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ให้เป็นรูปแบบภาษาอังกฤษ โดยสร้างเป็นคู่มือที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วนสาคัญ คือ ส่วนของภาคทฤษฎีและส่วนของภาคปฏิบัติ ในส่วนทฤษฎีกล่าวถึง หนทางในการดับทุกข์ คือมรรค ผล นิพพาน ใช้สติพิจารณากาหนดรู้ถึงอาการที่ปรากฏทาง กาย(กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) เวทนา(เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) จิต(จิตตานุปัสส นาสติปัฏฐาน) และธรรม(ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ส่วนภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ มีแบบฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนาในอิริยาบถ การกราบ การยืน การเดินจงกลม การนั่ง และการนอน ทั้งนี้ ผลการประเมินหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ ในรูปแบบภาษาอังกฤษโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅=๔.๐๖, S.D.=๐.๑๕) ๓. การพัฒนาชุดความรู้พุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ เป็นการพัฒนาและออกแบบเว๊บไซต์ E-Leaning เพื่อใช้เป็นช่องทางการถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งเว๊บไซต์จะมีเนื้อหาของหลักสูตรที่เป็นชุดความรู้ ประกอบด้วย คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนา และวีดีโอการปฏิบัติในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเว๊บไซต์ E-Leaning นี้ จะเป็นการจัดการเรียนที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนได้ทุกเวลา หากผู้ปฏิบัติเกิดข้อสงสัยสามารถแจ้งผ่านช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลาด้วยความสะดวก สาหรับผลการประเมินรูปแบบการสอนบนเว๊บของพุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅=๓.๙๒, S.D.=๐.๒๒) และผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มทดลองต่อรูปแบบการสอนบนเว๊บไซต์ พบว่า กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนบนเว๊บไซต์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅=๔.๑๐, S.D.=๐.๕๖) ๔. การเผยแพร่ชุดความรู้พุทธนวัตกรรมสื่ออีเลิร์นนิ่งภาษาอังกฤษสาหรับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานทั้งสี่ เป็นการนานวัตกรรมไปใช้โดยการเผยแพร่ผ่านการอบรมถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา กรรมฐาน และกิจกรรมการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของวิทยาลัยสงฆ์ลาพูน และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ การเผยแพร่นี้ เป็นกระบวนการที่นานวัตกรรมไปใช้กับคนในสังคมที่กาลังเดือดร้อนทั้งทางกายและทางใจจากผลกระทบของโรคระบาดโควิท--๑๙ เป็นการชี้แนะแนวทางการฝึกสติอยู่กับตัวเอง ให้เกิดความสุข ทั้งนี้ การที่จะปฏิบัติวิปัสสนาจนตระหนักรู้และมีสติเกิดขึ้นได้นั้น ผู้ปฏิบัติต้องมีศรัทธาในประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเปิดใจยอมรับการเรียนรู้นวัตกรรมและใช้นวัตกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ หากพบปัญหาให้แสวงหาหนทางหรือทางเลือกด้วยกระบวนการรู้คิด ไตร่ตรองอย่างเป็นระบบดาเนินการตรวจสอบ ประเมินเพื่อคลี่คลายไปสู่ความกระจ่างแจ้งในประเด็นปัญหานั้น สาหรับการปฏิบัติวิปัสสนาอาจต้องใช้เวลาในการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การยอมรับ การตระหนักรู้ และนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจาวัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1306
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.029.2565.pdf25.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.