Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1304
Title: | การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ |
Other Titles: | The Enhancing of Learning Skills for Creative Product of Right Livelihood Communities in Phrae Province |
Authors: | มงคลพิพัฒน์พร, ปุญยวีร์ สุนันตา, ปัญญา วริทธิ์วุฒิกุล, เขมิกา |
Keywords: | การเสริมสร้างทักษะ ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์วิถีพุทธ ชุมชนสัมมาชีพ การประเมินทักษะการเรียนรู้ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และการถ่ายทอดทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ไม้สักทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้ในท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนและกลุ่มประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นและแบบประเมินความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้การประเมินโดยแบบประเมินความรู้ ใช้ค่าสถิติ t – test ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย ๑. แนวคิดและหลักการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ๒. กระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธ ๓. กระบวนการเรียนรู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านบวกโป่ง กระบวนการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของชุมชนบ้านบวกโป่งเป็นแบบการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ที่เกิดจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากการคลุกคลีการทำไม้มาแต่อดีตทำให้เกิดการพัฒนามาเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อออกจำหน่าย ทักษะการสร้างสรรค์ชิ้นงานจึงเกิดจากการเรียนรู้ ทดลองลงมือทำ จนเกิดความชำนาญสร้างสรรค์ผลงานเป็นมรดกทางปัญญา แต่ยังขาดทักษะการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้สักแบบใหม่ๆ ๒. กระบวนการถ่ายทอดทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธ เชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสัมมาชีพ มีผู้ถ่ายทอดเป็นปราชญ์ชาวบ้านและวิทยากรผู้มีองค์ความรู้ในท้องถิ่นทั้งด้านการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้สัก เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นจำนวน ๒๐ ชั่วโมง ให้ความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้สัก ๓. การประเมินทักษะการเรียนรู้วิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ โดยความรู้หลังการเข้ารับการอบรมมีระดับความคิดเห็นมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม ในรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ทุกด้าน โดยความรู้หลังการเข้ารับการอบรมมีระดับความคิดเห็นมากว่าก่อนการเข้ารับการอบรม จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจในกิจกรรมอย่างดียิ่ง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1304 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.028.2565.ย่อย3.pdf | 7.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.