Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1302
Title: | การจัดการองค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพ ในจังหวัดแพร่ |
Other Titles: | Knowledge management and the creative process in Community products of the livelihood community in Phrae Province |
Authors: | ปัญญาไวย์, พระมหาสิทธิชัย สุขจีน, อภิชา เรืองปัญญารัตน์, พระอนุสรณ์ เจริญกุศล, ธาดา |
Keywords: | การจัดการองค์ความรู้ การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุมชนสัมมาชีพ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ๓) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และกระบวนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษาจากหนังสือ เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการ จำนวน ๓๒ คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ การจัดการองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ทั้ง ๔ พื้นที่ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมของชุมชนทุ่งโฮ้ง ผลิตภัณฑ์ไม้สักของชุมชนดอนมูล ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของชุมชนค่างาม และผลิตภัณฑ์ไม้สักของชุมชนบวกโป่ง ในขั้นกำหนดองค์ความรู้นั้นถือเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการปฏิบัติ โดยมีการถ่ายทอดผ่านครอบครัวเป็นสำคัญ องค์ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ทั้ง ๔ นั้น เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในวิถีชีวิตของประชาชนและมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี ขั้นการแสวงหาองค์ความรู้ เกิดจากการลองผิดลองถูก และอาศัยประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติ ขั้นการจัดเก็บองค์ความรู้ เป็นการจัดเก็บไว้ในตัวบุคคลเป็นสำคัญ อาศัยการถ่ายทอดผ่านตัวบุคคลในระดับครอบครัวและชุมชน ขั้นการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากการแบ่งปันเรียนรู้ในครอบครัว ชุมชน จนพัฒนามาเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตลอดจนถึงการแบ่งปันเรียนรู้ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และขั้นการนำไปใช้ประโยชน์ คือ การนำเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่มาเพิ่มมูลค่าในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น รูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ มีทั้งหมด ๕ กระบวนการ ประกอบไปด้วย กระบวนการสร้างสรรค์ คือ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ และขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท กระบวนการออกแบบ คือ การออกแบบ ก ผลิตภัณฑ์โดยการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เดิม กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุนวิทยากรให้คำแนะนำในด้านการผลิต การออกแบบ เทคนิคพิเศษ และช่องทางการตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ การบวนการการเรียนรู้ คือ การถ่ายทอดทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และการถ่ายทอดผ่านศูนย์การเรียนรู้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ในแต่ละพื้นที่ และกระบวนการสร้างเครือข่าย คือ การสร้างเครือข่ายทั้งในระดับต้นน้ำ หรือการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต กลางน้ำ คือ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย และระดับปลายน้ำ คือ การประชาสัมพันธ์จัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ให้ทั่วถึง การนำเสนอองค์ความรู้และกระบวนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ด้านประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ไม้สัก และผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของทั้ง ๔ พื้นที่ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ในอดีตและการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน ที่มีความหลากหลาย ประณีต มีสีสัน และตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า เป็นการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านเศรษฐกิจมากกว่าเป็นการผลิตเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ในด้านรูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์ก็มีการพัฒนาไปพร้อมๆกับความเจริญทางสังคมที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย องค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์ผลิตภัณฑ์เดิม ที่มีผลประโยชน์ของชุมชนเป็นหลักและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้นไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1302 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.028.2565.ย่อย1.pdf | 6.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.