Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1298
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สงกาผัน, ศตวรรษ | - |
dc.contributor.author | สิงอุดม, ธงชัย | - |
dc.contributor.author | โพวิชัย, พระนุชิต | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-14T05:02:09Z | - |
dc.date.available | 2025-07-14T05:02:09Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1298 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและยกระดับการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย ๒)เพื่อพัฒนาและยกระดับการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย ๓)เสนอรูปแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลยโดยการมีส่วนร่วมการวิจัยในครั้งนี้จึงใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผลการวิจัยพบว่า ๑.สภาพปัญหาทั่วไปการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย ถึงแม้สภาพทั่วไปของประชาชนจะสร้างความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี แต่ยังขาดการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในทางการขับเคลื่อนวัฒนธรรมวิถีพุทธ กล่าวคือ เนื่องจากประชาชนในเขตตามแนวชายแดนทั้ง ๔ อำเภอ ประชาชนยังมีความยากจนจึงทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมในชนบท ประชาชนตามแนวชายแดนลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง ๔ อำเภอ ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือครอบครัวที่ยากจนต่างก็ยินยอมปฏิบัติตามผู้นำที่มีรากฐานทางฐานะที่ดีกว่าเนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจยังยากจนอยู่ ส่งผลให้ประชาชนยังขาดการสร้างจิตสำนึกให้เลื่อมใสในระบอบการพัฒนาการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยแท้จริง และนอกจากนั้นข้าราชการบางกลุ่มยังทำงานไม่สนองความต้องการของประชาชน เช่น ยังทำงานเช้าชามเย็นชาม ขาดความรวดเร็ว ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายในระบบราชการ ข้าราชการประจำยังทำงานสนองนโยบายของนักการเมืองมากกว่าประชาชน ส่งผลให้ประชาชนขาดความรู้ไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมตามท้องถิ่นตนเอง ถึงแม้ว่าประชาชนจะมีความใกล้ชิดกับหน่วยงานของรัฐและผู้นำทางศาสนา เช่น โรงเรียน วัด กลุ่มผู้นำชุมชน และภาคประชาชน ๒. พัฒนาและยกระดับการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดน การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามหมวดหมู่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมตามนโยบายวิถีพุทธนั้นค่อนข้างที่จะกระทำได้ยาก สืบเนื่องจากกำลังคนที่ไม่มีความชำนาญการเฉพาะด้านส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ตามพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ บางครั้งชุมชนต้องการโดยอาศัยกฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นผลมาจากขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อต่างๆ ของชุมชน บนพื้นฐานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พิธีกรรม ศาสนา วัฒนธรรม ตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมภายในชุมชน รวมถึงการรักษาทรัพยากรส่วนรวมของชุมชนผสมผสานกับการตั้งกฎกติกา เพื่อ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามหมวดหมู่ให้เป็นสัดส่วน โดยมีวิธีการและกระบวนการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนตามหมวดหมู่ในชุมชนตามแนวชายแดน เพื่อเป็นการดำเนินการอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาศัยการเสริมสร้างเครือข่ายและสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วมกัน ข ๓. เสนอรูปแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลยโดยการมีส่วนร่วม กระบวนการสร้างวัฒนธรรมเพื่อยกระดับตามนโยบายชุมชนวิถีพุทธ ตามแนวชายแดนประชาชนจะเล็งเห็นความสำคัญในกระบวนการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านกระบวนการชักจูงจากผู้นำชุมชน มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนกลุ่มแม่บ้าน โดยมีมาตรการในการพัฒนาวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายชุมชนวิถีพุทธ การประชุมประชาคม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมความเข้าใจและปรับทัศนคติชาวบ้านในชุมชนระดับแกนนำ สรรหาผู้นำทั้งทางการและผู้นำธรรมชาติ พัฒนาศักยภาพโดยฝึกอบรม/ศึกษาชาวบ้านในชุมชนกระบวนการจัดทำแผน การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ รวมทั้ง การบูรณาการงบประมาณจากทุกแหล่งให้มุ่งไปสู่เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์เสริมความเข้มแข็งให้กับกลไกอำนวยการและกลไกปฏิบัติการ สร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นการจัดทำทะเบียนวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บทบาทการสร้างการพัฒนาวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลยร่วมกับสภาวัฒนธรรมประสานงานการจัดกิจกรรมการประชุมเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการประชุมตามกำหนดการจัดทำสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีการวางแผนการพัฒนาวัฒนธรรมตามนโยบายชุมชนวิถีพุทธภายในหน่วยงานที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง โดยมีเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการทิศทางการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินงานด้านอนุรักษ์ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นตลอดจนกิจกรรมด้านการส่งเสริมงานประเพณีวัฒนธรรมอื่นๆ ในพื้นที่ตามแนวชายแดนจังหวัดเลยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาในทุกมิติ ข้าราชการ พนักงาน/ลูกจ้างสังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย และเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย ตลอดจนหน่วยงานเอกชน พ่อค้าประชาชนคนทั่วไป | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนา | en_US |
dc.subject | การยกระดับ | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | ชุมชนวิถีพุทธ | en_US |
dc.title | การพัฒนาและยกระดับการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดน จังหวัดเลย | en_US |
dc.title.alternative | Development and upgrading of Buddhist community culture management along the border of Loei Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.027.2565.ย่อย2.pdf | 5.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.