Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1295
Title: | การสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย |
Other Titles: | Subproject 4. Building a Buddhist Culture Network of the Tai Dam Ethnic Group in Loei Province |
Authors: | พลวิเศษ, พวงเพชร คงทิพย์, เอกลักษณ์ นวลน้อย, พัทธนันท์ มณีศรี, เอกสิทธิ์ |
Keywords: | การสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในจังหวัดเลย |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาและการสร้างเครือข่ายทาง วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย และ ๒) เพื่อสร้างแนวทางการสร้างเครือข่าย ทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ สัมภาษณ์ (Interview) ผลการวิจัย ๑. ความเป็นมาและการสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำใน จังหวัดเลย ถูกนำเสนอผ่านทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ที่ตั้งอยู่ในตัวหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้แก่ (๑) ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ (๒) บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ (๓) “เฮือนอ้าย เอ้ม” แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาฅนไทดำ กิจกรรมที่นำเสนอการอนุรักษ์ผ่านการท่องเที่ยว เช่น การเที่ยวชมบ้านเรือนชาวไทดำ, การเที่ยวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่, การแต่งกายของชาวไทดำ, การละเล่นแซปาง, การสาธิตทอผ้า, ทำเครื่องรางของขลัง, ภาษาชาวไทดำ เป็นต้น ๒. แนวทางการสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย แบ่งเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธ เป็นการอนุรักษ์โดยใช้ภูมิปัญญา ที่เป็น องค์ความรู้เดิมของชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ประจำวัน โดยอาศัยการรวมกลุ่ม ที่ชุมชนได้มีการยกระดับจัดตั้งเป็นกลุ่มชุมชนวัฒนธรรม (๒) ด้าน การมีส่วนร่วมกับชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กันแบบเครือ ญาติ จึงทำให้มีความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดความสามัคคีช่วยเหลือกัน โดยมีผู้นำ ชุมชนนั่นก็คือผู้ใหญ่บ้านเป็นพลังขับเคลื่อนในการประยุกต์ใช้หลักพระพุทธศาสนาให้ทุกคนเกิด จิตสำนึกต่อชุมชนและมีลักษณะสังคมแบบพหุสังคม สามารถอยู่ด้วยกันอย่างสงบ ไม่ว่าจะเป็นผี พราหมณ์ พุทธ (๓) ด้านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เป็นกระบวนการพัฒนาเครือข่ายโดยใช้ ข ทุนของชุมชน และการสำรวจตลาด โดยเน้นสร้างความแตกต่าง และใส่ความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เข้าไปในตัวของผลิตภัณฑ์ (๔) ด้านการสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธ การจัดการชุมชนเพื่อ รองรับการพัฒนาเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธ สำหรับการจัดการชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนา เครือข่ายนั้น จากการศึกษาการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ระบบบริหารจัดการมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากการดำเนินงานนั้นมีการวางแนวทางที่ เอื้อต่อวิธีชีวิตในชุมชนและการให้สมาชิกได้เข้ามามี ส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1295 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.026.2565.ย่อย4pdf.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.