Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1293
Title: | กระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย |
Other Titles: | The process of preserving Buddhist culture of Tai Dam ethnic groups in Loei Province |
Authors: | เพราะถะ, พระปลัดธนากร คงทิพย์, เอกลักษณ์ นวลน้อย, พัทธนันท์ |
Keywords: | กระบวนการอนุรักษ์ วัฒนธรรมวิถีพุทธ กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติ พันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย ๒) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในจังหวัดเลย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) วิธีดำเนินการเก็บ ข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๔๐ คน ผลการวิจัย การอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด ถูกนำเสนอผ่านทางแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ในตัวหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้แก่ (๑) ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ (๒) บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ (๓) “เฮือนอ้าย เอ้ม” แหล่ง เรียนรู้ภูมิปัญญาฅนไทดำ กิจกรรมที่นำเสนอการอนุรักษ์ผ่านการท่องเที่ยว เช่น การเที่ยวชม บ้านเรือนชาวไทดำ, การเที่ยวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่, การแต่งกายของชาวไทดำ, การละเล่นแซปาง, การสาธิตทอผ้า, ทำเครื่องรางของขลัง, ภาษาชาวไทดำ เป็นต้น กระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย มี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักร่วมกันในการอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟูวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ชาวไทดำบ้านนาป่าหนาดได้รวมตัวกันเพื่อศึกษา รวบรวมทรัพยากรทาง วัฒนธรรมที่อาจจะสูญหายตามกาลเวลา นำมาอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่าน ศูนย์เรียนรู้ภายในหมู่บ้าน ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถี ชีวิต ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด นำเสนอวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตนผ่านการ ท่องเที่ยว เช่น การแต่งกาย นักท่องเที่ยวสามารถแต่งกายด้วยชุดไทดำ การทอผ้า นักท่องเที่ยว สามารถเรียนรู้ทดลองการทอผ้าโดยมีชาวไทดำคอยแนะนำ การทำเครื่องรางของขลัง ถนนคนเดิน เป็นต้น นอกจากกิจกรรมแล้ว ยังจัดจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชาวไทดำเพื่อสร้าง รายได้ใช้ชาวไทดำอีกทาง ขั้นตอนที่ ๓ การควบคุมกิจกรรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำบ้าน นาป่าหนาดให้ยั่งยืน วางกฎเกณฑ์การใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านเวลาและสถานที่ เผยแผ่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมแหล่งเที่ยวผ่านสื่อสังคมโซเซียล และสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมไทดำ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1293 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.026.2565.ย่อย2pdf.pdf | 8.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.