Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1284
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชยานนฺโท, พระมหาสังคม-
dc.contributor.authorจันรอง, วัชรมน-
dc.contributor.authorภูมิสุข, วินัย-
dc.contributor.authorแย้มสุนทร, ปชาบดี-
dc.date.accessioned2025-07-14T03:31:22Z-
dc.date.available2025-07-14T03:31:22Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1284-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ มี วัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ ๒) เพื่อ ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ และ ๓) เพื่อ วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการ วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทาง ธรรมชาติ จำนวน ๔๐๐ คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน ๕๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิง ปริมาณ ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป แสดงข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย และ ทั้งในเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา แสดงข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๑๑ แห่ง คือ ๑) อุทยานแห่งชาติตาดโตน ๒) อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ๓) อุทยานแห่งชาติไทรทอง ๔) อุทยาน แห่งชาติป่าหินงาม ๕) ศาลเจ้าพ่อพญาแล ๖) ปรางค์กู่ ๗) พระเจ้าองค์ตื้อ (ภูพระ) ๘) พระพุทธรูป ใหญ่สมัยทวารวดี ๙) พระธาตุชัยภูมิ ๑๐) พิพิธพันธ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย (เรือหงส์) และ ๑๑) วัด ชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ๒) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีศักยภาพอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ ๑) อุทยานแห่งชาติ ตาดโตน (ร้อยละ ๙๒.๑๔) ๒) อุทยานแห่งชาติไทรทอง (ร้อยละ ๙๐.๗๑) ๓) อุทยานแห่งชาติป่าหิน งาม (ร้อยละ ๘๗.๑๔) และ ๔) อุทยานแห่งชาติภูแลนคา(ร้อยละ ๘๔.๒๘) ตามลำดับ ส่วนแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมีศักยภาพอยู่ในระดับสูงที่สุด ๒ แห่ง คือ วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) (ร้อยละ ๙๒.๑๔) และพระธาตุชัยภูมิ (ร้อยละ๘๖.๔๓), มีศักยภาพที่อยู่ในระดับสูง ๓ แห่ง คือ ศาลเจ้าพ่อพญา แล (ร้อยละ ๘๐.๐๐) พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี (ร้อยละ ๗๓.๕๗) และภูพระ (พระเจ้าองค์ตื้อ) (ร้อยละ ๗๐.๗๑) และมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ๒ แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย (เรือหงส์) (ร้อยละ ๖๓.๕๗) และปรางค์กู่ (๕๖.๔๓) ตามลำดับ ๓) วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัด ชัยภูมิ พบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมนั้นควรมีการกระตุ้นให้แต่ละแห่ง ปรับตัวและจัดทำกิจกรรมการท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกแห่งท่องเที่ยวen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectศักยภาพen_US
dc.subjectแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติen_US
dc.subjectแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมen_US
dc.titleศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิen_US
dc.title.alternativeThe Potential of Natural and Cultural Tourist Sites in Chaiya Phum Provinceen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.024.2565.ย่อย1.pdf30.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.