Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1283
Title: การพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ อย่างยั่งยืน
Other Titles: Sustainable Community Development for Supporting Natural and Cultural Tourism in Chaiya Phum Province
Authors: สุขประเสริฐ, ชยาภรณ์
คล้ายเดช, ปัญญา
Keywords: การท่องเที่ยว
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
เส้นทางการท่องเที่ยว
กิจกรรมการท่องเที่ยว
การพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทาง วัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ 2) พัฒนาเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทาง วัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ และ 3) พัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยว ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยเชิง เอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๘๐๐ คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๑๑๐ คน และดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชนบ้านลาดวังม่วง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัด ชัยภูมิ เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป แสดงข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการ บรรยาย และทั้งในเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา แสดงข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดชัยภูมิ มีศักยภาพอยู่ในระดับสูงที่สุดทั้ง ๔ แห่ง คือ ๑) อุทยานแห่งชาติตาดโตน ๒) อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ๓) อุทยานแห่งชาติไทรทอง และ ๔) อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ มีศักยภาพอยู่ใน ระดับสูงที่สุด จำนวน ๒ แห่ง คือ วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) และพระธาตุชัยภูมิ, มีศักยภาพที่อยู่ใน ระดับสูง จำนวน ๓ แห่ง คือ ศาลเจ้าพ่อพญาแล, พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี วัดคอนสวรรค์ และ และ พระเจ้าองค์ตื้อ(ภูพระ) วัดศิลาอาสน์ และมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน ๒ แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย (เรือหงส์) วัดพญาแล และปรางค์กู่ ตามลำดับ ๒) มีการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม จำนวน ๖ เส้นทาง คือ ๑) เส้นทางไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และชมแหล่งประวัติศาสตร์ ๒) เส้นทางชื่นชมธรรมชาติบน เทือกเขาภูแลนคา ๓) เส้นทางเที่ยวชม เที่ยวไหว้ และเที่ยวช๊อป ๔) เส้นทางเที่ยวชมอุทยานชาติและ ขอุทยานธรรม ๕) เส้นทางท่องจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ และ ๖) เส้นทางท่องจากตะวันตกสู่ตะวันออก มี กิจกรรมการท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้น จำนวน ๕ กิจกรรม คือ ๑) การไหว้พระ ๒) การสักการะอนุสาวรีย์ ๓) การชื่นชมแหล่งประวัติศาสตร์ ๔) การเที่ยว เล่น ชมธรรมชาติให้ดูดดื่ม และ ๕) การนอนสัมผัสกับ บรรยากาศอย่างเบิกบาน ๓) ทำการพัฒนาชุมชนบ้านลาดวังม่วง ในอำเภอหนองบัวแดง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนประเภทโมบายที่เรียกว่า ตุงสาย ตุงแมงมุม ตุงพ่วงระย้า และพัฒนาลวดลายผ้าทอ ให้มี เอกลักษณ์ประจำอำเภอหนองบัวแดง เพื่อรองรับเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทาง วัฒนธรรมที่ได้พัฒนาขึ้น อันเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน สังคม เชื่อมโยง ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้มีการพัฒนาต่อยอดของความรู้ในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องให้ยั่งยืนต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1283
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.024.2565.pdf24.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.