Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1282
Title: | การสร้างความสมดุลตามแนวพุทธของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Creating a balance in accordance with the Buddhist principles of agriculture, service and industrial sectors in Ubon Ratchathani Province |
Authors: | อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์ พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต ศรีบุรินทร์, เอกชัย หอมสมบัติ, พูลศักดิ์ วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์ |
Keywords: | ความสมดุลตามแนวพุทธ รายได้ การสนับสนุนจากองค์กร ภาระงานที่มีดุลยภาพ สภาพแวดล้อมของการทางาน ความสมดุลด้านเวลา ความสมดุลด้านการมีส่วนร่วม ความสมดุลด้านความพึงพอใจ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การสร้างความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อการสร้างความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี ๒) เพื่อการสร้างความสมดุลของภาค การเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี และ ๓) เพื่อวิเคราะห์การสร้าง ความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงเอกสาร เชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัด ได้แก่ ๑) ตัวแทนภาครัฐ ประกอบด้วย เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานอุสาหกรรมจังหวัด ๒) ตัวแทนผู้ประกอบการ ภาค การเกษตร ๓) ตัวแทนผู้ประกอบการภาคการบริการ และ ๔) ตัวแทนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมรวม จานวน ๑๙ คนโดยใช้การสัมภาษณ์ในเชิงลึก (Interviews) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) เป็นเครื่องมือในการศึกษา แล้วนาข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ใน เชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลการวิจัยตามที่กาหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษา พบว่า ๑. การจัดการความสมดุลเชิงพุทธของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ใน จังหวัดอุบลราชธานี ใน ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านระบบการสร้างความมั่นคงด้านการการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ๒) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากภายนอกด้านการการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ๓) ด้านโครงสร้างกฎหมายและนโยบายที่เอื้ออานวยด้านการการเกษตร การบริการ และการอุตสาหกรรม ๔) ด้านระบบการปลูกและการจัดการการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ๕) ด้านการมีตลาดพร้อมรองรับผลผลิตการ เกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม และ ๖) ด้านธุรกิจและธรรมาภิบาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกสมาคม การเกษตร ๒. การพัฒนาการสร้างความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ใน จังหวัดอุบลราชธานี จะมีรูปแบบการทาไปในแต่ละพื้นที่ คือ รูปแบบการทาเกษตรของประชาชนในจังหวัด อุบลราชธานี จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะทาการเกษตรเพื่อการบริโภคเป็นเบื้องต้น และมีการทาเกษตรแบบ แนวเดียวกัน คือการปลูกพืชทางการเกษตรที่คล้ายๆกัน ในบางปีมีผลผลิตที่ล้นตลาด จึงทาให้ราคาพืชผล ตกต่า จึงเป็นปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนตลอดจนชุมชนต้องหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาเพื่อพัฒนา และส่งเสริมเกิดความสมดุล การพัฒนาการสร้างความสมดุลตามแนวพุทธของภาคการบริการ ในจังหวัด อุบลราชธานี ที่จะสามารถให้ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความสมดุลและมีความเหมาะสมนั้น จะต้อง รู้จัก๑) ต้องการความรวดเร็ว ยิ่งภาวะการแข่งขันยุคปัจจุบัน ความรวดเร็วของการปฏิบัติงานความรวดเร็ว ของการให้บริการจากการติดต่อจะเป็นที่พึงประสงค์ของทุกฝ่าย ๒) ประหยัดเงินและเวลา การให้บริการที่ รวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดเงินในการจ้างหรือใช้จ่าย การให้บริการ ๓) เกิดความรู้ที่ดีต่อผู้ให้บริการ ผู้มา ติดต่อขอรับบริการ เมื่อผลลัพธ์เกิดขึ้นเร็ว และด้วยน้าใจบริการที่ดี และ ๔) การพัฒนาและสร้างความ สมดุลตามแนวพุทธ การพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นสิ่งจ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้มีคุณภาพ เพราะ มนุษย์เป็นปัจจัยที่ส้าคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่างๆ เป็นส่วนร่วมที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันสังคมและธรรมชาติมี ความพร้อม และสามารถที่จะพัฒนาตัวเองให้เจริญงอกงามสู่ความสันติสุขและอิสรภาพสมบูรณ์ และ การ พัฒนาการสร้างความสมดุลเชิงพุทธของภาคอุตสาหกรรม ดังนี้ ๑) การท้าอุตสาหกรรมของประชาชนใน จังหวัดอุบลราชธานี ๒) แนวทางการส่งเสริมพัฒนาสร้างความสมดุลของภาคอุตสาหกรรม และ ๓) การ พัฒนาและสร้างความสมดุลตามแนวพุทธ การพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นสิ่งจ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนา ให้มีคุณภาพ เพราะมนุษย์เป็นปัจจัยที่ส้าคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่างๆดังนั้น จึงจ้าเป็นที่จะต้องสร้างคนให้มี ความรู้มีความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จ้าเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อ ตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิตก็เพื่อที่จะให้ได้ พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม ๓. วิเคราะห์การสร้างความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ใน จังหวัดอุบลราชธานี จะสามารถพัฒนาให้เกิดความสมดุลได้นั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงใน ระดับโลกและการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศไทยด้วย ที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตในการพัฒนาให้เกิด ความสมดุลที่ยั่งยืนและมั่นคงและผลกระทบทางภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ของจังหวัดอุบลราชธานี ๕ ด้าน คือ ๑) เศรษฐกิจของโลกมีความผันผวนมากขึ้น ๒) กฎ กติกาด้านการค้า และการลงทุนของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ๓) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยคุกคามทางธรรมชาติ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น๔) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสังคมยุคดิจิทัล ๕) ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ด้านของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม แนวทางการสร้างความสมดุลของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ใน จังหวัดอุบลราชธานี จะต้องมีการสร้างและพัฒนาภาคการเกษตร ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรมให้มี ความสมดุล หัวจักรสาคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความสมดุลได้ คือนโยบายภาครัฐ โดยหน่วยงานราชการ เป็นกลไกขับเคลื่อนสาคัญสาหรับการกาหนดนโยบายของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม เพราะนโยบายของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะ มาจากเหตุผลทางการเมือง เพื่อให้การพัฒนาของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรเกิดความยั่งยืน จาเป็นต้องพิจารณาจาก ๓ ด้าน คือ ความเร่งด่วน ความ ต่อเนื่องและความยั่งยืน โดยให้ความสาคัญกับความแตกต่างของของภาคการเกษตร ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ความแตกต่างเชิงพื้นที่ การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยยึดหลักตามแผนพัฒนาของภาคการเกษตร ภาคการ บริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงจะสามารถส่งเสริมพัฒนา สร้างความสมดุลของภาคการเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานี ให้เกิดความสมดุลในด้านการผลิต การบริการ การอุตสาหกรรมและความต้องการของตลาดต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1282 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.023.2565.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.