Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูวุฒิธรรมบัณฑิต-
dc.contributor.authorจันทร์คำลอย, พระมหาคะนอง-
dc.contributor.authorขันธวิชัย, ศราวุธ-
dc.contributor.authorคำโท, ศรีอรุณ-
dc.date.accessioned2025-07-07T08:59:35Z-
dc.date.available2025-07-07T08:59:35Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1281-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การสร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๒) เพื่อศึกษาเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๓) เพื่อวิเคราะห์การสร้างความยั่งยืนในจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงเอกสาร เชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกป่า ผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน นักวิชาการ รวมจำนวน ๔๕ คน โดยใช้การสัมภาษณ์ในเชิงลึก (Interviews) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) เป็นเครื่องมือในการศึกษา แล้วนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลการวิจัยตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษา พบว่า ๑. ปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรพื้นที่อีสานใต้ ใน ๖ ด้าน ๑.๑ ปัจจัยด้านระบบการสร้างความมั่นคงด้านการถือครองที่ดิน คือ การมีสิทธิครอบครองหรือสิทธิทำกินของชุมชนเกษตรกรร จากการลงพื้นที่และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร พบว่า เอกสารสิทธิของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะเป็นโฉนด และ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข. เอกสารสิทธิ ๑. ปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรพื้นที่อีสานใต้ ที่ ส.ป.ก.๔-๐๑ และยังมีเกษตรกรบางกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ก็ได้เข้าจับจองพื้นที่เพื่อทำเกษตร ซึ่งได้มีการเสียภาษีให้แก่ท้องถื่นโดยท้องถิ่นได้ออกใบเสียภาษีให้ทำกิน (ภาษีดอกหญ้า) เช่น ใบ ส.ค.๑, ใบ ภ.บ.ท ๕ ซึ่งยังเป็นปัญหาที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาแก้ปัญหาให้เกษตรได้มีโอกาสมีที่ดินทำกินที่ถูกต้องและสร้างความมั่นคงด้านการถือครองที่ดินของเกษตรต่อไป ๑.๒ ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุน แหล่งทุน แหล่งสินเชื่อ การประกันการลงทุน และทักษะทางวิชาการและเทคโนโลยีการจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ พบว่า ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนที่สำคัญ ๒ ทาง คือ ๑) ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญในการให้การ ข สนับสนุนความเข้าใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการปลูกไม้มีค่าซึ่งจะต้องรอผลผลิตในระยะเวลาหลายปี และ๒) การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น แหล่งสนับสนุนทักษะทางวิชาการ เงินทุนและสินเชื่อสำหรับป่าชุมชน ส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ป่าไม้จังหวัด กรมป่าไม้ ได้ให้การสนับสนุนป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.๒๕๖๒ ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการฝึกอบรมอาสาสมัครดูแลป่า ๑.๓ ปัจจัยด้านโครงสร้างกฎหมายและนโยบายที่เอื้ออำนวย นโยบายทางการเมืองจะเป็นส่วนสำคัญที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการป่าไม้ของชุมชน โดยปลอดจากอิทธิพลการครอบงำของนักการเมืองและธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายหลายระดับ แม้ว่ากฎหมายป่าไม้ (มาตรา ๗) จะอนุญาตให้สามารถตัดไม้ได้ก็ตาม แต่ข้อกังกลคือข้อจำกัดในการตัด เช่น เมื่อจะตัดไม้จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องจ้างผู้ที่มีใบอนุญาตในการตัด หรือกรณีการขออนุญาตการใช้เลื่อยยนต์ (จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับให้เกษตรกรผู้ปลูกป่าสามารถใช้เลื่อยยนต์ในการนำไม้มาแปรรูป ๑.๔ ปัจจัยด้านระบบการปลูกและการจัดการ ยังเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร เช่นการคัดเลือกประเภทของไม้ที่ปลูก การเพาะพันธุ์กล้าไม้ การปลูกป่าเชิงพาณิชย์ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรเลี้ยงชีพแบบยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ ระบบการปลูกและการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพที่รักษาความสมดุลและพึ่งพาซึ่งกันและกันของธรรมชาติ มี ๓ รูปแบบ คือ ๑) ปลูกไม้มีค่าแซมด้วยพืชเศรษฐกิจเพื่อเลี้ยงชีพและเลี้ยงสัตว์ ๒) ปลูกไม้มีค่าพร้อมกับเพาะเชื้อเห็ด เก็บไข่มดแดงและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ เกษตรกร จะมีการวางแผนการปลูกไม้อย่างมีระบบ โดยการจัดสรรปลูกไม้ที่มีค่า เช่น ไม้พยุง ไม้ยาง ไม้สักทอง ฯลฯ และ ๓) ปลูกไม้มีค่าโดยไม่ปลูกพืชอื่นแซม เกษตรกรบางคนมีที่ดินวางเปล่า ก็มีการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้พยุง ไม้สักทอง ไม้ประดู่ ไม้แดง ฯลฯ เพื่อใช้ในระยะยาวหรือเพื่อขายในอนาคต โดยไม่มีการปลูกพืชอย่างอื่นเลย ๑.๕ ปัจจัยด้านการมีตลาดพร้อมรองรับผลผลิตจากป่าไม้ การปลูกป่าเชิงพาณิชย์หรือวิสาหกิจป่าไม้ชุมชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีวัตถุประสงค์ในทางเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนทางการตลาด ก่อนที่เกษตรกรจะใช้ประโยชน์จากไม้มีค่าที่ปลูกได้ เกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้อื่นเพื่อเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการดูแลไม้มีค่าให้เจริญเติบโต เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการปลูกพืชเศรษฐกิจแซมป่าที่ปลูกและมีรายได้ผลได้จากผลผลิตระยะสั้น ๑.๖ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกสมาคมปลูกป่าเชิงพาณิชย์ แนวคิดของเกษตรกรต่อผลลัพธ์ของการจัดการปลูกป่ามีความหลากหลาย ได้แก่ การมองป่าว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ธรรมชาติต้องพึ่งพาอาศัยกันและมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยป่า การที่จะทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการปลูกป่าเพื่อครองชีพ มาเป็นเพื่อเชิงพาณิชย์นั้น กลไกราคาและด้านตลาดมีส่วนสำคัญที่จะมีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกปลูกป่า ให้มีความสนใจที่จะมีการดำเนินการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ได้ ค ๒. เครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ได้มีการทำ MOU กับสร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อิสานใต้ จำนวน ๓ จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร ณ มหาวิทยาลัยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี และจัดพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ สร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนชุมชนให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบด้วยนโยบายของภาครัฐแต่ละช่วงเวลา แต่ด้วยระบบที่มีมาอย่างยาวนานนั้น ได้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชุมชนและภาครัฐการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม การสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาระหว่างชุมชนเกษตรกับภาครัฐให้มีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยให้ชุมชนยังคงบทบาทเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศ ขณะที่รัฐช่วยสนับสนุนในการเป็นแหล่งตลาดและการบริโภค รวมทั้งแหล่งจ้างงานที่ส่งทอดความเจริญสู่พื้นที่ชนบท ๓. การสร้างความยั่งยืนในจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ มีนโยบายและกลไกการจัดการป่าชุมชนของภาคประชาชนให้มีความยั่งยืน ๒ แนวทาง คือ ๓.๑ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านและชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ประโยชน์ของป่าชุมชนต่อวิถีชีวิต โดยการให้ชุมชนมีบทบาทส่วนร่วมในการจัดการและ อนุรักษ์ป่า (ป่าชุมชน) กระบวนการสร้างกลไกการจัดการป่าชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอีสานใต้ โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในท้องถิ่น ในการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแลกเปลี่ยนปัญหาร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ๓.๒ การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการป่าชุมชนสร้างความยั่งยืนในจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติ ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน ซึ่งเป็น ตัวแทนของชาวบ้านในการรักษาป่า คัดเลือกจากคนที่มีใจเสียสละ มีความรู้และความสนใจ เรื่องการอนุรักษ์ป่า ทำหน้าที่กำหนดนโยบายหรือแนวทางการจัดการป่า เพื่อการได้อาศัยประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเกิดความยั่งยืน ตั้งกฎระเบียบในการใช้ประโยชน์ร่วมกันและ ปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ทำกิจกรรมร่วมกัน กำกับติดตาม และประเมินผลการทำงาน การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นจากการเล็งเห็น ประโยชน์ส่วนรวมที่จะพึงได้จากการจัดการป่าชุมชนนั้น การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนก็เพื่อถ่ายทอดหรือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาหรือประสบการณ์ทำงานของผู้ให้ความรู้หรือวิทยากรนั้นen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครือข่ายen_US
dc.subjectป่าชุมชนen_US
dc.subjectการจัดการป่าชุมชนen_US
dc.subjectการปลูกป่าเชิงพาณิชย์en_US
dc.subjectชุมชนพุทธเกษตรen_US
dc.subjectพุทธเกษตรen_US
dc.subjectอีสานใต้en_US
dc.titleสร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตร ในพื้นที่อีสานใต้en_US
dc.title.alternativeNetwork Creation of Sustainable Commercial Timber Growing Management in Southern Isanen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.022.2565.ย่อย3.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.