Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1280
Title: สร้างรูปแบบการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้
Other Titles: Model Creation of Sustainable Commercial Timber Growing of Buddhist Agriculturist Communities in Southern Isan
Authors: ศรไชย, ประยงค์
ปภากโร, พระมหาคำพันธ์
Keywords: ชุมชนพุทธเกษตร,
รูปแบบการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์
อีสานใต้
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๒) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๓) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกป่า คณะกรรมการป่าชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน นักวิชาการภาครัฐและเอกชน รวม ๔๗ คน เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตสภาพจริงของพื้นที่ นำเสนอโดยข้อมูลเชิงพรรณนาที่ได้จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการสร้างรูปแบบการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ผลการศึกษา พบว่า ๑) ปัญหาการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ พบว่าป่าชุมชนบางแห่งมีการบุกรุกและยังไม่มีการรังวัดที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เกษตรกรยังกังวล การตัด ชักลาก แปรรูป และใช้ประโยชน์ไม้ในที่ดินของตน ยังต้องขออนุญาตทุกขั้นตอน กลไกด้านราคาและด้านการตลาดยังมีส่วนสำคัญในการจัดการเชิงพาณิชย์ ๒) การส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ พบว่า มีจุดเด่นด้านการอนุรักษ์ป่า โดยใช้อาสาสมัคร ประชาชน กลุ่มเป็นทางการและไม่เป็นทางการเข้ามาจัดการ การใช้ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี มาเป็นเงื่อนไขในการอนุรักษ์ ทำให้เกิดความหวาดกลัวไม่กล้าตัดฟันต้นไม้ มีการบวชต้นไม้ ทำแนวกันไฟป่า อีกทั้งมีการปลูกต้นไม้ทดแทน การปิดป่าชั่วคราว พัฒนาป่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติและนิเวศวิทยา ตลอดจนการออกระเบียบข้อบังคับป่าชุมชน ๓) วิเคราะห์ต้นทุนการจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ พบว่า เป็นข้อด้อยของเกษตรกรที่ไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนตามหลักวิชาการ แต่เกษตรกรบางรายเห็นว่าต้องการอนุรักษ์ และเป็นมรดกแก่ลูกหลาน ด้านระบบการปลูกและการจัดการ สามารถแยกออกได้เป็น ๓ รูปแบบคือ รูปแบบที่ ๑ ปลูกไม้มีค่าแซมด้วยพืชเศรษฐกิจเพื่อเลี้ยงชีพและเลี้ยงสัตว์ รูปแบบที่ ๒ ปลูกไม้มีค่าพร้อมกับเพาะเชื้อเห็ด เก็บไข่มดแดงและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ รูปแบบที่ ๓ ปลูกไม้มีค่าโดยไม่ปลูกพืชอื่นแซม คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างรูปแบบการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ได้รูปแบบเป็น “การปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้แบบผสมผสานและพึ่งพิง” คือ ปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ พร้อมปลูกพันธุ์ไม้เพื่อบริโภคและใช้สอยแซมป่าเศรษฐกิจ การปลูกและการจัดการตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยหลักการพึ่งพิงกัน ข ของพืชตามธรรมชาติ สอดคล้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “อิทัปปัจจยตา” และเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการเกษตรเพื่อยังชีพไปสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์ต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1280
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.022.2565.ย่อย2.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.