Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1279
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์โสดา, สมนึก-
dc.contributor.authorธมฺมจาโร, พระสิริชัย-
dc.contributor.authorเขมปญฺโญ, พระสังวาน-
dc.contributor.authorอุตฺตโร, พระมหาสุริยัน-
dc.contributor.authorพระครูโกศลวิหารคุณ-
dc.date.accessioned2025-07-07T08:49:33Z-
dc.date.available2025-07-07T08:49:33Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1279-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ในเชิงลึก (In-depth Interviews) กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๔๐ คน ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกป่า ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการและปราชญ์ชุมชน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ เอกสารสิทธิที่ดินของเกษตรกรที่ใช้ปลูกป่า ประกอบด้วย โฉนดที่ดิน และส.ป.ก.๔-๐๑ ไม้มีค่าที่เกษตรกรปลูกมากที่สุดโดยลำดับคือ ยางนา พะยูง ไม้แดง ตะเคียน มะค่า ประดู่ ไม้สัก สะเดาและชิงชัน สำหรับป่าชุมชนมี ๒ รูปแบบ ได้แก่ ป่าชุมชนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และป่าชุมชนปลูกสร้าง โดยเอกสารสิทธิของป่าชุมชน ประกอบด้วย น.ส.๓ ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ออกให้โดยรัฐ และป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม้มีค่าที่พบในป่าชุมชนได้แก่ ไม้ประดู่ สัก พะยูง จิก บาก ค้อ พะยอม บก แต้ ยางนา แดง เต็ง กุง และไผ่ 2. กระบวนการจัดการป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ ขั้นตอนการปลูกป่าประกอบด้วย ๑) เกษตรกรทำความเข้าใจในสิทธิการทำไม้ตามกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดิน ๒) แสวงหาความร่วมมือและแหล่งสนับสนุนการปลูกป่า ๓) ตัดสินใจเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่สายพันธุ์ดี เนื้อไม้มีคุณภาพ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ๔) ปรับสภาพดินและระบบน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ไม้ ๕) การปลูกที่เว้นระยะห่างระหว่างต้นเพื่อการเจริญเติบโต ๖) ปลูกไม้มีค่าผสมผสานกับพืชเศรษฐกิจระยะสั้นเพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงหรือป็นพืชเบิกนำ ๗) การดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจหลักการอาศัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่งพึ่ง (อิทัปปัจจยตา) พร้อมกับทุนทางสังคมจากการสนับสนุนของคนรอบข้าง (ทิศทั้งหก) ในส่วนของการจัดการป่าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียง (อปริหานิยธรรม ๗) และพรหมวิหาร ๔ ในการดูแลรักษาป่าและใช้ประโยชน์จากป่า ตลอดทั้งสร้างความเข้าใจการพึ่งพากันของสรรพสิ่ง (อิทัปปัจจยตา) ในระบบนิเวศของป่า นอกจากนี้ คณะกรรมการป่าชุมชนได้แสวงหา ความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในการอนุรักษ์ ป้องกันและรักษาป่า 3. ผลลัพธ์ของการจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ การปลูกป่าของเกษตรกรมีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างการเกษตรเพื่อยังชีพกับการเกษตรเชิงพาณิชย์ เกษตรกรมองมูลค่าของผลได้จากการใช้ต้นทุนในการปลูกและดูแลรักษาป่าว่าการปลูกไม้มีค่าผสมผสานกับพืชเศรษฐกิจระยะสั้นที่หลากหลายได้ช่วยสร้างรายได้ที่คุ้มค่า และยังให้คุณค่าที่หลากหลาย ได้แก่ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แหล่งสมุนไพรสำหรับคนในชุมชน สนองความพึงพอใจของเกษตรกรผู้รักป่า รวมถึงเพื่อช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม สำหรับผลลัพธ์ของการจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนมองผลลัพธ์สำคัญ ๓ ด้านคือ ๑) ชุมชนร่วมกำหนดข้อตกลงและได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในการจัดการป่าชุมชน ๒) ชุมชนมีความเข้าใจในระบบนิเวศของป่าและดูแลรักษาป่าให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ๓) ประชาชนร่วมแบ่งปันประโยชน์ที่ได้รับจากป่าด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectศึกษาen_US
dc.subjectการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์en_US
dc.subjectชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้en_US
dc.titleศึกษาการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้en_US
dc.title.alternativeA Study on Commercial Timber Growing Management of Buddhist Agriculturist Communities in Southern Isanen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.022.2565.ย่อย1.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.