Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1278
Title: | ชุมชนพุทธเกษตรกับการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ในพื้นที่อีสานใต้ |
Other Titles: | Buddhist Agriculturist Communities and Sustainable Commercial Timber Growing Management in Southern Isan |
Authors: | ปภากโร, พระมหาคำพันธ์ พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต จันทร์โสดา, สมนึก ศรไชย, ประยงค์ |
Keywords: | การจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ชุมชนพุทธเกษตร พื้นที่อีสานใต้ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | แผนงานวิจัยเรื่อง “ชุมชนพุทธเกษตรกับการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนในพื้นที่อีสานใต้” ประกอบด้วย ๓ โครงการ ดังนี้ ๑) ศึกษาการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๒) สร้างรูปแบบการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ ๓) สร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๔๗ คน ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ปลูกป่า ผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น นักวิชาการและปราชญ์ชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ในเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ๑) ศึกษาการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ (๑) ปัจจัยสำคัญของการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย สิทธิในที่ดิน กฎหมายรองรับสิทธิการตัดไม้และทำไม้ การคัดเลือกพันธุ์ไม้ การเตรียมดิน ระบบน้ำและการปลูก การคัดเลือกพืชเศรษฐกิจหมุนเวียนผสมผสาน โดยใช้หลักพระพุทธศาสนาได้แก่ หลักการพึ่งพากันของสรรพสิ่งและหลักความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชน (๒) ปัจจัยสำคัญในการจัดการป่าชุมชน ประกอบด้วย เอกสารสิทธิที่ดินและหนังสือสำคัญของทางราชการ กฎระเบียบของชุมชนในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่า การแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ตลอดทั้งหลักพระพุทธศาสนาว่าด้วยความพร้อมเพรียงและความเมตตาในพระพุทธศาสนา ๒) รูปแบบการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ แยกออกได้ ๓ รูปแบบ ประกอบด้วย การปลูกไม้มีค่าแซมด้วยพืชเศรษฐกิจยืนต้นที่เก็บผลผลิตได้ทุกปี การปลูกไม้มีค่าพร้อมกับเพาะเชื้อเห็ดและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ในแปลงเดียวกัน และ การปลูกไม้มีค่าแซมด้วยพืชเศรษฐกิจหมุนเวียนตามฤดูกาล ด้วยเหตุที่พื้นที่ปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรมีอยู่จำกัด เกษตรกรจึงปลูกป่าในเชิงการเกษตรเพื่อยังชีพมากกว่าการเกษตรเชิงพาณิชย์ สำหรับการดูแลป่าชุมชน มีคณะกรรมการป่าชุมชนดูแลป่าตามเอกสารสิทธิและหนังสือสำคัญ ได้แก่ พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง และ น.ส.๓ การรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าได้ใช้หลักกฎหมาย หลักพระพุทธศาสนาว่าด้วยความพร้อมเพรียงและความเมตตาตลอดทั้งหลักความเชื่อทางจิตวิญญาณและความเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งในป่า ๓) เครือข่ายการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ (๑) เครือข่ายที่มีอยู่แล้วก่อนแผนงานวิจัย ได้แก่ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และเครือข่ายคณะกรรมการป่าชุมชนแบบไม่เป็นทางการ (๒) เครือข่ายที่เกิดจากแผนงานวิจัย โดยชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษและยโสธร ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี ลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างเครือข่ายการปลูกป่าเชิงพาณิชย์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการจัดการปลูกป่าอย่างยั่งยืน (๓) มาตรการหนุนเสริมเครือข่ายเกษตรกรและคณะกรรมการป่าชุมชนในด้านกฎหมายและการตลาดให้สอดคล้องกับประชาคมโลกในการส่งเสริมผลิตผลที่มิได้เกิดจากการทำลายป่าหรือความหลากหลายทางชีวภาพ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1278 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.022.2565.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.