Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1272
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | คล้ายเดช, ปัญญา | - |
dc.contributor.author | พระศรีสัจญาณมุนี | - |
dc.contributor.author | สิทฺธิเมธี, พระมหาวิฑูรย์ | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-07T08:17:23Z | - |
dc.date.available | 2025-07-07T08:17:23Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1272 | - |
dc.description.abstract | แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อ พัฒนาพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ ๒) เพื่อพัฒนาแนวคิดใหม่ทางการเมืองของผู้นำ ท้องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ ๓) เพื่อพัฒนาจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้นำท้องถิ่น ใน จังหวัดชัยภูมิ ๔) เพื่อพัฒนาหลักสูตรพัฒนาจริยธรรมผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ ในจังหวัดชัยภูมิ และ ๕) เพื่อพัฒนาสังคมสันติประชาธรรมของผู้นำท้องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ แผนงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น ๕ โครงการย่อย จัดเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดย ๑) ทำการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๑,๒๐๐ คน โดยใช้แบบสอบถาม ๒) ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย การสัมภาษณ์ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน ๑๙๐ คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ และดำเนินการจัดทำการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒ กลุ่ม และ ๓) ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการดำเนินจัดโครงการพัฒนาผู้นำท้องถิ่น จำนวน ๑๐๐ คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติตารางไขว้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผู้นำท้องถิ่น มีรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วมและแบบผสมผสานกับ แบบไพร่ฟ้า, ผู้นำท้องถิ่นที่ดีต้องมีพฤติกรรมใน ๓ ด้าน คือ ด้านการครองตน ด้านการครองคน และ ด้านการครองงาน, ผู้นำท้องถิ่นที่มีรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันมีแนวโน้มทาง พฤติกรรมทางการเมืองที่ต่างกันออกไป และผู้นำท้องถิ่นมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมพัฒนา พฤติกรรมผู้นำท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ๒) การพัฒนาแนวคิดใหม่ทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นที่มีความสมบูรณ์ได้ต้องมุ่งในการ ส่งเสริมการปกครองตนเองตามวิถีประชาธิปไตยท้องถิ่น ใน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านการมีส่วนร่วมทางการ ข เมือง ๒) ด้านภาวะผู้นำ และ ๓) ด้านการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชนใน ท้องถิ่น ๓) ผู้นำท้องถิ่นแสวงหาสิ่งที่สามารถนำมาส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมแก่ตัวผู้นำและ สังคมโดยภาพรวม และการจัดกิจกรรมการอบรมการพัฒนาจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นได้ตระหนักรู้ในความรับผิดชอบของผู้นำที่ต้องจัดการกับปัญหา และเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผลและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ๔) บทบาทที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมสันติประชาธรรม คือ (๑) บทบาทของ พระสงฆ์ (๒) บทบาทของผู้นำ (๓) บทบาทคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่ต้องให้ความสำคัญกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมสันติประชาธรรมนั้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างสังคมสันติ ประชาธรรมให้เกิดขึ้น ๕) การจัดกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ ๔ หลักสูตร ๘ กิจกรรมการ เรียนรู้สู่การพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบของสังคมสันติประชาธรรม ทำให้ผู้นำท้องถิ่นได้รับการปลูกฝัง แนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเพิ่มเติมขึ้น และจะมีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นให้ ก้าวหน้าขึ้น | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หลักสูตรพัฒนาผู้นำ | en_US |
dc.subject | องค์ความรู้ | en_US |
dc.subject | ผู้นำท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง | en_US |
dc.title | หลักสูตรพัฒนาผู้นำท้องถิ่น : การสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่น ของผู้นำในจังหวัดชัยภูมิ | en_US |
dc.title.alternative | Executive Training Program for Local Leaders : Learning to local development of leaders in Chaiyaphum province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.021.2565.pdf | 10.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.