Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิริวฑฺฒโก, พระครูปลัดสุรวุฒิ-
dc.date.accessioned2025-07-07T07:45:57Z-
dc.date.available2025-07-07T07:45:57Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1266-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการผลิตสินค้าจากภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ๒) ออกแบบสินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี และ๓) พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร ใช้การค้นคว้าหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๑๕ ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะ ใช้การสุ่มแบบแบบเจาะจง จำนวน ๑๐ ท่าน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๕๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การผลิตสินค้าจากภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี คือ ส่วนที่เป็นผ้า ลวดลายทอด้วยวิธีจก (ควักเส้นด้ายพิเศษมาผูกมัดขัดกับเส้นอื่นเป็นลวดลายแบบต่างๆ) ซิ่นตีนจกมีโครงสร้างประกอบด้วยผ้า ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ซิ่นตีนจก จกเฉพาะตีน ๒) ซิ่นตีนจก จกทั้งตัว และ๓) ซิ่นตีนจก ตัวยกมุกสลับมัดหมี่ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สนใจของตลาด มี ๕ ชนิด ได้แก่ ๑) ผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่น ๒) ผลิตภัณฑ์กระเป๋า ๓) ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์ ๔) ผลิตภัณฑ์ย่าม และ๕) ผลิตภัณฑ์เสื้อบุรุษ เสื้อสตรี การนำเสนอขั้นตอนการผลิต ได้แก่ ๑) การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การให้ได้มาซึ่งงานออกแบบที่ตรงกับความต้องการ อาทิ ตู้เก็บของตั้งพื้น ชั้นวางของแบบตั้งพื้น ชั้นวางของติดผนัง โต้ะข้างขนาดเล็ก โคมไฟตั้งโต๊ะ ศิลปะตกแต่งผนัง บล็อก ซีเมนต์สำหรับโครงสร้างผนัง และผนังกั้นห้อง ๒) แนวทางการออกแบบเทคโนโลยีการสื่อสาร การนำเสนอเรื่องราวที่มาของสินค้าและตราสินค้าข้อมูลของผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมโปรโมชั่นการซื้อสินค้าออนไลน์ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตู้ประชาสัมพันธ์ และ๓) แนวทางการออกแบบพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ คือ การสร้างเรื่องราวและสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการ อาทิ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของงานหัตถกรรม การสาธิตการทำงานหัตถกรรมจากกลุ่มช่างฝีมือให้กับนักท่องเที่ยว เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานได้ด้วยตนเอง ๒. การออกแบบสินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี กลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีพัฒนาสีสัน รูปแบบ การประยุกต์ใช้สินค้า การออกแบบเป็นเสื้อผ้าตามแฟชั่น หรือตามเทศกาลต่าง ๆ การแปรรูปตามภัณฑ์ที่น่าสนใจตามกลุ่มผู้บริโภค อาทิ งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ อาจออกแบบลายให้เข้ากับบรรยากาศ และความสนใจของผู้มาร่วมงาน คือ การจัดทำย่าม ตาลปัตร ของที่ระลึก กระติ๊กน้ำ ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้ วัสดุห่อหุ้มอาหาร เป็นการแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการต่างกัน เป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าลายจกตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่อาศัยความต้องการเป็นแนวทางการออกแบบ ๓. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเชิงสร้างสรรค์ ๕ แนวทาง ได้แก่ ๑) การเพิ่มจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๒) การปรับลดจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๓) การพัฒนาผ้าทอตีนจกให้มีเป็นลวดลายใหม่ ๔) การใช้วัตถุดิบของเส้นด้ายย้อมสีธรรมชาติ และ๕) การสร้างตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าซิ่นตีนจก ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำกลุ่ม ๒) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ๓) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา ๔) ด้านการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และ ๕) การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี สร้างผลิตและพัฒนารูปแบบให้เป็นที่ยอมรับในสังคมตามยุคสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับทุกเทศกาล เพื่อเพิ่มและขยายตลาดหลายกลุ่ม ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ที่บางกลุ่มสนใจบริโภคสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีมูลค่าระยะยาวที่สร้างผลกำไรได้ โดยนำเสนอสินค้าผ้าซิ่นตีนจกเข้าสู่เวทีสากล มีตลาดรองรับในการจัดจำหน่ายผ้าตามชุมชน และจังหวัดต่างที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นถิ่น เพราะสินค้าที่ได้จากการทอด้วยผ้าตีนจกจะมีคุณค่าในตัวเอง สร้างตลาดผ้าซิ่นตีนจกราชบุรี การเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ อาทิ อินเตอร์เน็ต กลุ่มไลน์ ทั้งนี้ ผลิตเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ ด้านการประดิษฐ์หรือปรับใช้นวัตกรรมในเชิงสร้างสรรค์ การออกสอดคล้องกับการทำบุญประเพณีพื้นถิ่น อาจอาศัยจารีตประเพณี ๑๒ เดือน เป็นการออกแบบสินค้าที่ตรงกับความต้องการตามเทศกาล ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ การสร้างนักทอรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างลวดลายตามกระแสนิยมได้ และสามารถประชาสัมพันธ์/ขายบนตลาดออนไลน์ได้หลายช่องทาง และด้านการออกแบบสินค้าที่ระลึก การนำลายไปทอลงบนวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องใช้ปกคลุม อาทิ ผ้าคลุมเก้าลายตีนจก ผ้าคลุมโต๊ะลายตีนจก ผ้าคลุมตู้เย็นลายตีนจก ผ้าหม่านลายตีนจก ผ้าประดับลายตีนจก อาสนะพระสงฆ์ลายตีนจก เพื่อให้ผลิตมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาจมีทั้งผู้สนใจทั้งบุคคลและรายใหญ่en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ระลึกen_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectมรดกวัฒนธรรมen_US
dc.subjectผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีen_US
dc.subjectชุมชนไท-ยวนen_US
dc.titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีen_US
dc.title.alternativeCreative Product Development on Buddhist Way of Right Occupation Group of the Teen Chok Fabric of Ratchaburi Clanen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.019.2565.ย่อย3.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.